ชวนให้ดู! สถิติลึกๆ สินค้า “แบรนด์” ที่อยากอยู่รอดกลางสมรภูมิ “อี-คอมเมิร์ซ” ควรรู้!

ชวนให้ดู! สถิติลึกๆ สินค้า “แบรนด์” ที่อยากอยู่รอดกลางสมรภูมิ “อี-คอมเมิร์ซ” ควรรู้!
19
Jul

นอกจากโลกของ e-Commerce จะเต็มไปด้วยแบรนด์ สินค้า การทำ เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ และมาร์เก็ตเพลสซื้อ-ขายมากมาย กลยุทธ์การเดินเกมธุรกิจของแต่ละแบรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคการบริการ รับทำ online shop  หรือแม้แต่การรีวิวที่ลูกค้ามีต่อสินค้าหรือแบรนด์ ทั้งหมดนี้ล้วนสร้าง “Data” จำนวนมหาศาล แถมยังเป็นมุมสำคัญที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม ครั้นจะบอกว่าให้ความสำคัญกับการทำสำรวจและติดตามเทรนด์อยู่เป็นประจำ ทำให้เข้าใจผู้บริโภค เข้าใจเทรนด์ตลาดอยู่แล้ว แค่นั้น…อาจยังไม่พอ!

ในฐานะแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลอี-คอมเมิร์ซ “BrandIQ” (แบรนด์ไอคิว) ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท eCommerce ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจจากการรวบรวมดาต้าผ่านพฤติกรรมคนไทยที่ใช้มาร์เก็ตเพลสต่างๆ บนโลกอี-คอมเมิร์ซ จากทั้งหมด 259 แบรนด์ ซึ่งมีร้านค้านับ 10,000 ร้าน และมีสินค้ามากกว่า 2.6 ล้านรายการ อาทิ…

– SAMSUNG Galaxy J7+ คือสินค้าที่มียอดขายสูงสุดบนมาร์เก็ตเพลสแพลตฟอร์มต่างๆ รวมแล้วกว่า 23,000 ชิ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 12 ส.ค.2561)

– ร้านค้ายอดนิยมบนมาร์เก็ตเพลสต่างๆ คือ ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 39%

– มากกว่า 35% ของร้านค้าต่างๆ คือผู้ค้ารายย่อยที่ “ไม่ได้มาจากแบรนด์โดยตรง” และบางแบรนด์ก็มีจำนวนผู้ค้ารายย่อยสูงถึง 400 ร้านทีเดียว!

– สัดส่วนของผู้ค้ารายย่อย 60% อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่รองลงมา…อยู่ในจังหวัดอุดรธานี คิดเป็น 8.3%

– วันพุธ คือ วันที่มาร์เก็ตเพลสต่างๆ พากันลดราคาสินค้าประมาณ 3% เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายจากลูกค้า

– วันหวยออก (วันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน) จะเป็นช่วงเวลาที่มาร์เก็ตเพลสนิยมปรับลดราคาสินค้าราวๆ 30-50% ก่อนจะเพิ่มราคาขึ้นอีกครั้งในช่วงใกล้สิ้นเดือน โดยมีสินค้าอยู่ 5 ประเภทที่นิยมใช้กลยุทธ์ดังกล่าว คือ Health & Beauty, Automotive & Motorcycles, Sports & Outdoors, Computers & Laptops, Mother & Baby

– ร้านค้าที่ได้คะแนนจากลูกค้าในการจัดเรทติ้งสูงสุด คือ เทสโก้ โลตัส (มากกว่า 39,000 เรทติ้ง)

– แบรนด์ที่มีการรีวิวสูงสุด คือ Xiaomi (7,400 รีวิว)

– ร้านค้าที่มีแฟนคลับมากที่สุด คือ watsons (66,000 ราย)

– การรีวิวสินค้าของคนไทย 90% คือ การบอกว่าสินค้านั้น ดี หรือ ไม่ดี ซึ่งราวๆ 71% มักจะรีวิวว่า ดี และมีไม่ถึง 25% ที่กลับมารีวิวเป็นครั้งที่สอง

– สินค้าในหมวด FMCG เป็นหมวดที่คนไทยนิยมรีวิวเรื่องการจัดส่งสินค้ามากกว่าหมวดอื่น อาจเพราะเป็นสินค้าที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ

“5 ปีในการดำเนินธุรกิจ eCommerce คือ การแก้ปัญหาด้านอี-คอมเมิร์ซแก่แบรนด์ต่างๆ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ยังรวมถึงประเทศต่างๆ ในเซ้าท์อีสเอเชีย เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานจนถึงการจัดจำหน่าย และในยุคที่ดาต้ามีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจ เราจึงพัฒนา BrandIQ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นเครื่องมือสร้างความสำเร็จให้แบรนด์ต่างๆ อย่างครบวงจร ทำให้แบรนด์ทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น ลดต้นทุน และสามารถสร้างบริการและประสบการณ์การใช้งานที่ดีแก่ผู้บริโภคในยุคออนไลน์ รวมถึงสร้างการเติบโตในระยะยาวบนธุรกิจอี-คอมเมิร์ซไปพร้อมกัน ส่วนเป้าหมายทางธุรกิจของเรา คือ การเติบโตแบบดับเบิลดิจิ มากกว่าที่ตลาดเติบโต” คุณเพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท eCommerce ประเทศไทย อธิบายถึงเป้าหมายของ BrandIQ

ปัจจุบัน eCommerce มีพนักงานรวมกว่า 1,500 คน โดยแบ่งเป็นพนักงาน eCommerce ประเทศไทยประมาณ 500 คน ส่วน BrandIQ ถือเป็นหนึ่งในเซอร์วิสที่บริษัทเป็นผู้พัฒนาเองทั้งหมด เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นบนโลกอี-คอมเมิร์ซ ช่วยให้แบรนด์สามารถพัฒนากลยุทธ์มาร์เก็ตเพลสการบริการ ทำเว็บไซต์ ecommerce ให้แข็งแกร่งขึ้น โดยเริ่มให้บริการในประเทศไทยตั้งแต่ปีที่ผ่านมา รวมถึงได้ขยายไปอีก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งในอนาคตก็จะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ที่มาร์เก็ตเพลสกำลังเติบโต

จำไว้ว่า “Information is Power”

“เรากำลังเข้าสู่ยุคที่ดาต้ามีความสำคัญอย่างมาก BrandIQ จึงเข้ามาช่วยด้านการวิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึกแก่แบรนด์ ด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้แบรนด์ได้เปรียบเทียบกับคู่แข่งที่ทำ เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ทั้งด้านยอดขายและส่วนแบ่งตลาด ขณะเดียวกันก็สามารถช่วยให้แบรนด์มีส่วนร่วมและใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้นด้วยเครื่องมือเสริมอื่นๆ” คุณพูนพัชร วรรธนวินิจ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาคของ eCommerce ขยายความถึงความสำคัญของข้อมูล ก่อนจะอธิบายต่อไปว่า…

ปัจจุบัน ดาต้าที่เกิดขึ้นบนโลกอี-คอมเมิร์ซ สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 1.ดาต้าที่แบรนด์เป็นผู้จัดเก็บเอง เป็นเจ้าของข้อมูลทั้งหมดเอง 2.ดาต้าที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย จึงสามารถเข้าถึงได้เพียงบางส่วน 3.ดาต้าที่ได้จากมาร์เก็ตเพลส ซึ่งแบรนด์ต้องเข้าไปติดตามผลและจัดเก็บเอง ท่ามกลางสินค้าจำนวนมหาศาลถึง 85 ล้านรหัสสินค้า (SKU : Stock Keeping Unit) ที่อยู่บนมาร์เก็ตเพลส สะท้อนถึงปริมาณดาต้าจำนวนมากที่เกิดขึ้น

ยุคนี้ต้อง 9P แค่การตลาดแบบ 4P ไม่พอ!

คุณพูนพัชร กล่าวว่า กลยุทธ์การทำตลาดในอดีตที่มีเพียง 4P นั้นไม่เพียงพอกับการทำตลาดในปัจจุบันแล้ว ควรเพิ่มเป็น 9P คือ Product, Price, Promotion, Placement และเพิ่มเติมด้วย 5P คือ Platform, Partner, Process, People, Performance เพื่อเสริมศักยภาพ

วาง 4 แพลตฟอร์ม ช่วยเสริมแกร่งธุรกิจยุคออนไลน์

นอกจาก Brand IQ ปัจจุบัน eCommerce ยังมีแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจการเปิด ทําเว็บขายของ อี-คอมเมิร์ซ คือ CustomerIQ แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลลูกค้า ซึ่งจะเปิดตัวเป็นบริการต่อไป, ChannelIQ แพลตฟอร์มการจัดการช่องทางการขายออนไลน์และ Omni-Channel, LogisticsIQ แพลตฟอร์มการจัดการสินค้าและคลังสินค้า โลจิสติกส์

“เชื่อว่าจุดแข็งของเรา คือ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งไม่ใช่แค่ Customer Data แต่หมายถึง Brand Data ภายใต้การรวบรวมและการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้พัฒนาธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและสามารถลดต้นทุนธุรกิจได้ ทำให้มั่นใจว่า BrandIQ มีความโดดเด่นและยังไม่มีคู่แข่งขันในธุรกิจนี้”