เมื่อTencent ลงทุนครั้งแรกในฟิลิปปินส์ ประเดิมเงินอัดฉีดก้อนแรก 175 ล้านดอลล์

เมื่อTencent ลงทุนครั้งแรกในฟิลิปปินส์ ประเดิมเงินอัดฉีดก้อนแรก 175 ล้านดอลล์
6
Sep

Tencent ประกาศตกลงซื้อหุ้นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติฟิลิปปินส์ชื่อ Voyager อย่างเป็นทางการ แม้จะมีตำแหน่งเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย แต่คาดว่าหุ้น Voyager ที่ Tencent ถือไว้ในมีจำนวนไม่น้อย คาดว่าอาจมีมูลค่าสูงถึง 175 ล้านเหรียญสหรัฐ สะท้อนแผนขยายธุรกิจสู่ฟิลิปปินส์ที่น่าสนใจครั้งล่าสุดของ Tencent

Tencent บริษัทสัญชาติจีนที่รู้จักกันดีในฐานะต้นสังกัด WeChat และบริษัท KKR ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Tencent ที่เน้นพิจารณาการลงทุนทั่วโลก สำหรับดีลที่เกิดขึ้น ถือว่าไตรมาสนี้เป็นไตรมาสแรกที่ Tencent ลงทุนเต็มตัวในฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ และเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้กับ Alibaba ยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนที่ยกระดับขึ้นไปอีกขั้น

Voyager คือใคร

สำหรับ Voyager นั้นเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม fintech ที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือระบบกระเป๋าสตางค์บนมือถือ PayMaya ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชาวฟิลิปปินส์รู้จักมากที่สุด PayMaya ช่วยให้ชาวฟิลิปปินส์ส่งเงิน ซื้อสินค้าเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ และชำระค่าบริการออนไลน์ รวมถึงเติมเงินโทรศัพท์

รายงานระบุว่า PLDT โอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ผู้ครองส่วนแบ่งตลาดครึ่งหนึ่งของวงการโทรคมนาคมฟิลิปปินส์ จะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Voyager แม้ว่าการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับนักลงทุนรายอื่น อาจลดสัดส่วนการถือครองหุ้นของ PLDT ลงเหลือน้อยกว่า 50% โดยการระดมทุนของ Voyager ครั้งนี้ถือเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัท

จุดนี้มีรายงานว่า การระดมทุนของ Voyager ด้วยการขายหุ้นเกิดขึ้นเนื่องจาก PLDT วางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมแบบเดิม ทำให้บริษัทตัดสินใจจำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก ซึ่งก่อนหน้านี้ PLDT ยังขายหุ้นในบริษัท Rocket Internet ของเยอรมนีทิ้งไปในเดือนพฤษภาคมด้วย

โอกาสในการลงทุน

PLDT เคยเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่ากำลังมองหาผู้ลงทุนใหม่ใน Voyager ซึ่งรายงานผลขาดทุนครึ่งปีแรก 2018 ราว 24 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้จะขาดทุน แต่ดีกรีของ Voyager ที่นอกเหนือจาก PayMaya แล้ว Voyager ยังเป็นเจ้าของเครือข่ายการโอนเงินผ่านมือถือ Smart Padala ตลาดสินเชื่อออนไลน์ Lendr ทำเว็บไซต์ ขายของ และบริการแลกรางวัลอินเทอร์เน็ตฟรี Freenet app ทั้งหมดนี้จะทำให้ Tencent มีจุดยืนเพื่อแข่งขันกับเพื่อนร่วมชาติอย่าง Alibaba ในตลาดโมบายเพย์เมนต์ฟิลิปปินส์ได้

เหตุผลเป็นเพราะ Voyager เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Mynt ซึ่ง Alibaba เข้าถือหุ้นใน Mynt แล้วในนามบริษัท Ant Financial ผู้มีดีกรีเป็นต้นสังกัดระบบกระเป๋าสตางค์บนมือถือที่ใหญ่ที่สุดในจีนอย่าง Alipay

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ในวงการเพย์เมนต์ฟิลิปปินส์ถือว่าซ่อนเงื่อนเล็กน้อย เพราะ Mynt ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Globe Telecom ซึ่งเกี่ยวข้องกับ PLDT อยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราสามารถสรุปได้คือวันนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนกำลังทุ่มเงินลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะต้องซื้อหุ้นจากกระเป๋าไหนก็ตาม

ทั้งหมดนี้เพราะจีนต้องการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากกว่า 600 ล้านคนและชนชั้นกลางที่กำลังเพิ่มขึ้นในอาเซียน โดยขณะนี้ Alibaba เป็นเจ้าของบริษัทที่ทําเว็บ e-commerceชั่นนำอย่าง Lazada และได้ลงทุนใน Tokopedia ของอินโดนีเซียแล้ว พร้อมกับลงทุนในบริษัท Ascend Finance ในกรุงเทพฯ และบริษัท M-Daq ในสิงคโปร์ ทั้งหมดนี้เป็นการลงทุนที่นอกเหนือจาก Mynt ของฟิลิปปินส์

ในทางกลับกัน Tencent เป็นเจ้าของอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ JD ซึ่งเริ่มทำตลาดจริงจังในอินโดนีเซียและไทย ขณะเดียวกันก็ลงทุนใน Go-Jek ที่คนไทยเริ่มได้เห็นบริการหนาตาขึ้นแล้วในนาทีนี้.

ที่มา.https://www.thumbsup.in.th