แฟร์หรือไม่ ? Amazon วันนี้ทำการ block โฆษณาสินค้าที่สมารถไม่ทำเงินได้

แฟร์หรือไม่ ? Amazon วันนี้ทำการ block โฆษณาสินค้าที่สมารถไม่ทำเงินได้
22
Aug

กลายเป็นกระแสที่วิเคราะห์กันยกใหญ่กรณี Amazon ประกาศ block โฆษณาสินค้าทาง เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ที่ขาดทุนบนระบบฝากสินค้าแบบขายส่งกับ Amazon การประกาศนี้แปลว่า Amazon ไม่แคร์รายได้จากการเปิด ทำเว็บไซต์ ขายของ โฆษณา แล้วให้ความสนใจแต่เรื่องกำไรขาดทุนมากกว่า โดยเจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซระบุว่าการ block จะถูกยกเลิกก็ต่อเมื่อเวนเดอร์สามารถลดต้นทุนจนทำให้ Amazon ไม่ได้รับผลกระทบขาดทุนจากสินค้านั้น

หากไม่นับเรื่องแฟร์หรือไม่แฟร์ นักวิเคราะห์มองว่าสิ่งที่อีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่าง Amazon กำลังทำคือการปัดกวาดตัวเลขกำไรขาดทุนด้วยการเดินมาตรการเพื่อลดส่วนที่เป็นภาระของ Amazon เพียงแต่ว่าการทำเช่นนี้กำลังทำให้ผู้ค้ารู้สึกถึงแรงกดดัน ซึ่งแสดงถึงความไม่แคร์ใครเลยของ Amazon

รายงานระบุว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา Amazon ประกาศบอกเวนเดอร์และเจ้าของแบรนด์หลายรายที่จำหน่ายสินค้าส่ง ว่าหาก Amazon ไม่มีกำไรในการจำหน่ายสินค้านั้น บริษัทจะไม่อนุญาตให้เจ้าของแบรนด์ซื้อโฆษณาเพื่อโปรโมทบน Amazon ยกตัวอย่างเช่น การจำหน่ายน้ำดื่มขวดละ 5 เหรียญสหรัฐ ทำให้ Amazon มีต้นทุนการจัดเก็บสินค้า การบรรจุหีบห่อ และการจัดส่ง การขาดทุนนี้ทำให้ Amazon ไม่อนุญาตให้เวนเดอร์น้ำดื่มซื้อโฆษณาบน Amazon เพื่อโปรโมทน้ำดื่มนั้น

ต้องลดราคาให้ Amazon

เงื่อนไขที่ Amazon เรียกร้อง คือเวนเดอร์ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ Amazon ขาดทุน จะต้องไปลดต้นทุนการผลิตลง เพื่อให้อยู่ในระดับที่ Amazon จะไม่ขาดทุนจากค่าจัดเก็บสินค้าและค่าธรรมเนียมการจัดส่งจาก เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ซึ่งหากทำได้ Amazon จึงจะยอมยุติการ block ไป

ความเคลื่อนไหวนี้มองได้ 3 ด้านในมุมของ Amazon ด้านแรกคือ Amazon ต้องการเพิ่มศักยภาพการทำกำไรอย่างเต็มที่ โดยในอีเมลที่ Amazon ส่งถึงผู้ขายรายหนึ่ง ระบุตรงไปตรงมาว่า “ผลิตภัณฑ์ของคุณ” อย่างน้อย 1 รายการไม่มีคุณสมบัติในการโฆษณาเพราะการขายผลิตภัณฑ์นี้ใน Amazon.com ส่งผลให้ Amazon ต้องขาดทุน

ด้านที่ 2 คือการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาธุรกิจอีคอมเมิร์ซ Amazon ชะลอตัว จุดนี้นักวิเคราะห์บางรายประเมินว่าปีนี้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ของ Amazon จะไม่ขยายตัวเท่าที่ควร โดยในปี 2019 นี้ คาดว่า Amazon จะสร้างยอดขายอีคอมเมิร์ซค้าปลีกทั่วโลกประมาณ 440,830 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.8% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวจากที่เคยเพิ่มขึ้น 22.4% ในปี 2018

ด้านที่ 3 คือ Amazon กำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อขยายตลาดการขายสินค้าของ third-party ที่ผ่านมาการขายสินค้าโดยตรงสร้างกำไรให้กับ Amazon ต่ำกว่าการขายผ่านบุคคลที่ 3 ซึ่งเวนเดอร์บุคคลที่ 3 ล้วนไม่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ของ Amazon

คิดเหมือนผู้ค้าปลีกค่ายอื่น

ไม่ว่าจะแฟร์หรือไม่แฟร์ Amazon ตอบสื่อมวลชนถึงกรณีที่เกิดขึ้นว่านโยบายของ Amazon ไม่ต่างกับผู้ค้าปลีกทั่วไป เพราะ Amazon ตัดสินใจเลือกสินค้าที่จะทำการตลาดและโปรโมตในร้านค้าของบริษัทตามปัจจัยหลายประการ ซึ่งนอกจากศักยภาพในการทำกำไร Amazon ยังพิจารณาเรื่องความพร้อม และปัจจัยอื่นร่วมด้วย

คาดว่านโยบายนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว เพราะ Wall Street Journal ก็เคยรายงานในเดือนธันวาคมว่า Amazon กำลังเร่งกำจัดผลิตภัณฑ์การ รับทำเว็บ ecommerce ที่ไม่สามารถทำกำไรจากรายการสินค้า ซึ่งการปฏิเสธที่จะโฆษณาสินค้าที่ขายขาดทุนนี้คาดว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ลดการขายสินค้าโดยตรงของ Amazon ซึ่งสร้างกำไรได้น้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม Amazon ถูกมองว่าจะต้องระมัดระวังกับการใช้กลยุทธ์จำกัดการโฆษณา เนื่องจาก Amazon ใช้โฆษณาเป็นตัวผลักดันการขายในเว็บไซต์ของตัวเอง การให้สิทธิพิเศษกับบางผลิตภัณฑ์แบบเหนือกว่าผลิตภัณฑ์อื่น อาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือ conflict of interest ซึ่งจะเป็นภัยต่อ Amazon ในภายหลัง

ที่มา : https://www.thumbsup.in.th/blocks-vendor-ads-for-unprofitable-products