2C2P ผู้ให้บริการ Online Payment รายใหม่

31
Oct

2c2p2-499x318

การทำร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบันได้รับความนิยมมาก การที่มีหน้าร้านและสินค้าที่น่าสนใจแล้วนั้น ระบบการชำระเงินก็ถือเป็นสิ่งสำคัญของการซื้อ-ขายแบบออนไลน์เพราะถ้าเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วแล้วยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ซื้ออีกด้วย และบริษัท 2C2P นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่บริการด้านระบบชำระเงินมาเป็นเวลานาน

2C2P คือใคร

ปิยชาติ รัตน์ประสาทพร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลว่าบริษัทก่อตั้งแรกเริ่มคือ ซินแนพทิค ปี 2003 โดยเป็นบริษัทเวนเดอร์ขายฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และเขียนแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับ Online Payment ลูกค้าส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มของธนาคาร โดยธนาคารแรกที่ใช้คือ Bank of Asia หรือ UOB ในปัจจุบัน

ธุรกิจ Online Payment แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ธนาคารผู้รับบัตรและธนาคารผู้ออกบัตร สมัยแรกๆยังไม่มีระบบ Security มากนัก จึงเกิดการปลอมแปลงง่าย กระทั่งปี 2005 มีกฎออกมาว่า จะมี Security ในการซื้อขายออนไลน์ด้วยบัตร จึงตั้งระบบ 3D Secure ขึ้น หมายถึงถ้าหากร้านค้าอยากมีปลอดภัยต้องไปแบงก์ที่มีระบบ 3D Secure

เมื่อพูดถึงอีคอมเมิร์ซ จะมี 3 โซลูชั่นที่เขียน อันที่ 1 คือ Payment Gteway อันที่ 2 คือ ACS ฝั่งของธนาคารผู้ออกบัตรเกือบทุกธนาคารในประเทศไทยใช้ ACS ของซินแนพทิคหมด เหลือเพียง 1-2 ธนาคารที่ไม่ได้ทำและไม่ได้ใช้ อันที่ 3 ฝั่งของธนาคารผู้ออกบัตรทำเสร็จ ฝั่งของธนาคารผุ้รับบัตรก็ต้องมีเช่นกัน

เมื่อมีเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งรูปแบบจึงเปลี่ยน แต่เดิมธนาคารต้องซื้อเซิร์ฟเวอร์พร้อมโซลูชั่นแอพพลิเคชั่นและเชื่อกับระบบปัจจุบัน ธนาคารบอกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะอยู่ที่ไหนก็ได้ ขอแค่ส่ง Transaction ไปให้ได้เท่านั้น และขอจ่ายเป็นรายการต่อรายการ บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีการขายแทนที่เซิร์ฟเวอร์ซึ่งไม่เหมือนแต่ก่อน “ ตอนนี้มันเป็นอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์อยูที่ไหนไม่ต้องสนใจ สนใจแค่ว่า Capacity ของคุณเดือนนี้ประมาณเท่าไร เช่น 50,000 Trnsaction ผมจะแบ่งตัวเซิร์ฟเวอร์ให้คุณ ทุกครั้งที่มีรายการเกิดขึ้นจะยิงกลับมาที่เซิร์ฟเวอร์ ใช้มากจ่ายมากใช้น้อยจ่ายน้อย เดิมธนาคารจะต้องลงทุนค่าเซิร์ฟเวอร์สูง แต่ถ้าไม่มี Transaction เกิดขึ้นก็เสียเงินไปฟรีๆ และทุก 3-5 ปีต้องมีการเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ ต้องพัฒนาโอเอสใหม่ ซึ่งไม่ใช่แนวทางของการทำธุรกิจในอนาคต ” ปิยชาติ กล่าว

ในบางกรณี ธนาคารซื้อซอร์ฟแวร์รับรองให้บริการลูกค้าที่ 50,000 Transaction อาจเกิดปัญหากับร้านค้าบางประเภท ที่มักมีโปรโมชั่นออกมาเป็นช่วงๆ เช่น สายการบิน “ สมมติวันนี้ สายการบินบอกราคาทั่วประเทศ 99 บาท คนจะแห่กันเข้ามาซื้อ ซึ่งแบงก์จะเตรียมไว้แค่ 50,000 Transaction เท่านั้น แต่มา 100,000 Transaction ทำให้เซิร์ฟเวอร์ล่มทันที ถ้าผมซื้อเซิร์ฟเวอร์ 100,000 Transaction ก็ไม่คุ้มเพราะว่าอีก 99 เปอร์เซ็นต์ของเวลาไม่ได้ใช้ Capacity เลย “ ปิยชาติ กล่าว

2C2P จึงเกิดมาเพื่อเซอร์วิส Processing เพื่อเซิร์ฟกลุ่มแบงก์ที่ไม่ได้ลงทุนเอง กับกลุ่มร้าค้าใหญ่ๆ ที่ Transaction ปริมาณมากแต่ไม่ได้มีตลอดเวลา ซึ่งจริงๆแล้วธนาคารก็มีเซิร์ฟเวอร์อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าไม่สามารถรับรองช่วงเวลา Peak Time ได้ “ ระบบของผม Cover กับลูกค้าหลายประเภท แต่ก็ต้องส่งกลับแบงก์เพราะไม่ได้เป็นเมมเบอร์ของวีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ด เรียกว่า MDR (Merchant Discount Rate) แต่ลูกค้าประเภทนี้ต้องจ่ายเพิ่มอีก รายละประมาณ 3-5บาท เพราะต้องการ Capacity ที่ใหญ่ขึ้น เลยเป็นที่มาของบริษัท 2C2P เราไม่ได้ขายของ แต่ให้บริการ Payment Dervice Provider “ ปิยชาติกล่าว

123 บริการใหม่จ่ายง่ายหลายช่องทาง

มีการคิดหาโมเดลหรือโซลูชั่นใหม่ๆที่จะมาช่วยตอบโจทย์ในเรื่องร้านค้าออนไลน์มากขึ้น แม้จะมีการทำบริการกับธนาคารที่มีความเกี่ยวข้องกับบัตรเครดิต แต่ว่าลูกค้ามีบัตรเครดิตในประเทศไทยก็ยังมีจำนวนไม่มาก คือมีเพียง 6-7 ล้านคน และไม่กล้าใช้เพราะกลัวในเรื่องของความปลอดภัย ถึงแม้การซื้อ-จ่ายบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะมีอยู่มาก แต่คนจ่ายด้วยบัตรเครดิตมีไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ “ เราจึงบริการขึ้นมากอีกอันหนึ่งเรียกว่า 123 คล้ายๆ กับเวลาคุณซื้อของออนไลน์ ซื้อเสร็จจดเบอร์ไปจ่ายที่เคาเตอร์เซอร์วิสหรือแบงก์ จ่ายเสร็จต้องเอาสลิปแฟกซ์หรืออีเมลกลับไปร้านค้าเพื่อยืนยัน เราจึงนำพฤติกรรมลักษณะนี้มาทำให้เป็นระบบ วันนี้เราไปต่อกับเคาท์เตอร์ต่างๆ หรือเคาน์เตอร์ทั้งหมดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังต่อกับทุกช่องทางของแบงก์ และรวมไปถึงแบบไดเร็คเดบิต ช่องทางพวกนี้ถือว่าเป็น Cash ทั้งหมด คือลูกค้าต้องเอาเงินไปใส่ก่อร ทั้งหมดจึงเป็น Cash Collection และพยายามต่อแบบเรียลไทม์ทุกช่องทาง “ ปิยชาติกล่าว

ช่องทางการจ่ายเงินของ 123 คือซื้อออนไลน์และไม่จำเป็นต้องมีบัตรเครดิต เพราะระบบจะ Generate สลิปออกมาให้ คล้ายๆกับบิลค่าไฟ หลังจากนั้น Print ออกมาเพื่อไปชำระเคาน์เตอร์ เมื่อมีการสแกนบาร์โค้ดเสร็จก็จะแจ้งกลับมาที่ระบบเซิร์ฟเวอร์จะแจ้งต่อไปกับร้านค้าทราบทันที่ว่าลูกค้าจ่ายเงินแล้ว เหมือนเป็นตัวกลางระหว่างร้านค้ากับลูกค้า บริการ 123 คือ ช่องทางการชำระเงินรูปแบบอื่นนอกจากบัตรเครดิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทยส่วนใหญ่กว่า 80 เปอร์เซ็นต์

NFC เทคโนโลยีที่ยังเกิดยาก

เทคโนโลยี NFC มีปัญหาที่สำเร็จยาก ถึงแม้ว่าจะมีมือถือรุ่นใหม่ๆที่ Build-in มาในตัว แต่คิดว่าเร็วๆนี่ อาจมีเทรนด์ต้องตามไปอี 1-2 ปีข้างหน้า เพราะเทคโนโลยีจะตายในเรื่องารลงทุนของเครื่องอ่าน ซึ่งไม่มีใครกล้าลงทุน เนื่องจากมีราคาสูงและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

เตรียมความพร้อมทุกด้านกรุยทางสู่อาเซียน

คนที่มีเครดิตการ์ดไม่เยอะ หรือมีแต่ไม่จ่าย จึงนำโมเดลนี้ไป Dupilicate เพราะเมืองไทยเรียกว่าเป็นอันดับ 1 ในเรื่องเทคโนโลยี Online Payment มากกว่าประเทศในแถบอาเซียน สิ่งที่จะนำไป Duplicate ประกอบด้วยระบบ 2C2P ที่เป็นบัตรเครดิต และ Cash Collection เป็นแพลนที่เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว เมื่อ AEC มาในอีก 3 ปี บริษัทก็จะได้เปรียบด้านทางตลอด ถ้าสามารถรีบทำได้เสร็จภายใน 1-2 ปีนี้ เพราะมีความเข้าใจกับธุรกิจทางด้านนี้เนื่องจากอยู่มาเป็นเวลานาน ซึ่งในอนาคตเทรนด์อีคอมเมิร์ซจะมาแรงขึ้นกว่านี้อีกหลายเท่าตัว เพราะสินค้าทุกอย่างจะงดเว้นภาษี คนจะสามารถสั่งสินค้าออนไลน์ได้มากขึ้น

ทิศทางของเทรนด์ต่อไปในอนาคต

2C2P ใตอนแรก 2C คือ Credit Card และ 2P คือ Payment Processor เนื่องด้วย Credit Card มีอัตราการเติบโตไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ จึงเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ ให้เป็น Cash Payment Processor ซึ่งเป็นการผสมกันของระบบ Payment ให้ครบวงจร ได้แก่ ไดเร็คเดบิต บัตรเครดิตเดบิต และโอเวอร์เดอะเคาน์เตอร์ โดยจะไม่ทำส่วนระบบ COD (Cash On Delivery)

“ COD เป็นช่องทางหนึ่ง แต่สุดท้ายอนาคตไม่น่าจะเยอะ COD เป็นอะไรที่ไม่ค่อยอยากทำ เนื่องจากพัสดุสมัยรี้ราคาสูงสินค้าที่มีราคาหลักพันถึงหลักเหมื่น และมีถึง 10 รายการ เขาส่ง 1 ครั้งได้เงินเป็นแสน ซึ่งอนาคตมันอาจจะมีสิ่งที่มาตอบโจทย์ COD “ ปิยชาติกล่าว

ปิยชาติ กล่าวทิ้งท้ายว่า ข้อดีของบริษัทมีความเหนือกว่า Provider อื่นๆ คือเป็นเจ้างของ Payment Gateway เองและเขียนเองทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกือบทุกธนาคารใช้ระบบของบริษัทเพราะฉะนั้นการจะเปลี่ยนลูกเล่น เพิ่มหรือลดอะไรต่างๆ ก็สามารถทำได้เองหมด จึงเป็นข้อได้เปรียบที่สุด และในอนาคตอาจจะมีการกลับมาให้ความสำคัญของตลาดออฟไลน์ เพราะอาจจะมีอุปกรณ์หรือโซลูชั่นใหม่ๆ ที่เข้ามาเดี่ยวข้องในการช่วยเหลือธุรกิจประเภทออฟไลน์ได้มากขึ้นนั่นเอง