Gotcha! Mall โอกาสใหม่ของทาง Transcosmos ในการบุกตลาดอีคอมเมิร์ซไทย

Gotcha! Mall โอกาสใหม่ของทาง Transcosmos ในการบุกตลาดอีคอมเมิร์ซไทย
3
Sep

แม้ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซตลาด รับทำ online shop  ของไทยจะมีโอกาสและการเติบโตที่ดีมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีผู้เล่นหลายรายที่อยู่รอดและตายไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม อย่างบริษัท Transcosmos inc (Japan) ก็เคยเข้ามาเป็นผู้เล่นแล้ว อย่าง Ookbee Mall ที่ร่วมมือกับเจ้าพ่อ E-book เมืองไทย แม้จะทำให้ตลาด เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ไม่รุ่งและปิดตัวไปแล้ว เพราะสู้การแข่งขันไม่ได้ แต่ก็มาเริ่มต้นใหม่กับ Gotcha! Mall ที่หวังโอกาสจากการเป็นส่วนเติมเต็มของอุตสาหกรรม การทำเว็บไซต์ ขายของ อีคอมเมิร์ซมากกว่าการเป็นผู้เล่นแบบเต็มตัว

โทชิยะ มัสซึโอะ หรือ ทอมมี่ กรรมการบริหาร บริษัท แกรนด์ ดีไซน์ ผู้มีความคุ้นเคยในธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เริ่มต้นจากการร่วมงานกับ Rakuten Inc. เมื่อปี 2550 และจัดตั้ง Rakuten Thailand (TARAD.com) จากนั้นก็เข้าสู่บริษัท Transcosmos และเคยนั่งบริหารธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับ Ookbee Mall

โอกาสมีถ้าจับถูกทาง

ทอมมี่ เล่าให้ฟังว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยในปัจจุบันมีผู้เล่นที่แข่งขันกันดุเดือดมาก คนที่จะเข้ามาได้ต้องมีทุนที่ค่อนข้างหนาถึงจะอยู่รอด ต้องยอมรับว่าเจ้าตลาดหลายรายยังคงต้องใช้จ่ายงบเพื่อสู้ในธุรกิจนี้กันแบบรุนแรง ทำให้รายใหม่ที่เข้ามาก็ทำได้ยาก จึงปรับแนวทางการทำธุรกิจมาเป็นเรื่องของ “บริการเสริม” เพื่อให้การแข่งขันของรายใหญ่ทั้งกลุ่ม B2B และ B2C มีความพิเศษขึ้น

ตลาดออนไลน์ในไทยยังคงมีการเติบโตจากการใช้งานมือถือ สิ่งที่ลูกค้ามองหาจากการช้อปออนไลน์ ไม่ได้เป็นเรื่องการแข่งขันด้านราคาถูกเพียงอย่างเดียว แต่การเพิ่ม “สิทธิพิเศษ” ที่คุ้มค่ากว่าเดิมแม้ราคาสินค้าจะสูงก็เป็นเรื่องที่นักช้อปให้ความสนใจ

หลังจากบริษัทมีความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์รายใหญ่มากมาย ก็มั่นใจที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่ทาง เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ของบริษัทในตอนนี้จะมาจากการได้ส่วนแบ่งจากการใช้งานของลูกค้าผ่านบริการพิเศษของพาร์ทเนอร์ เพียงช่องทางเดียว แต่ในอนาคตจะมีการขยายรายได้ใหม่ ซึ่งคาดว่าในปีแรกจะทำรายได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท แต่ไม่อาจบอกว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดสักเท่าไหร่ เพราะ Gotcha! Mall ในญี่ปุ่นเปิดให้บริการมาอย่างน้อย 3 ปีทำรายได้มากถึง 332% ในปี 2017-2018 ส่วนไทยเริ่มต้นจาก

ทางด้านกลยุทธ์การตลาดการ ทำเว็บไซต์ ขายของ บริษัทจะเน้นในช่องทางออนไลน์อย่างโซเชียลมีเดียเป็นหลัก เพราะคนไทยนิยม Facebook, Twitter, Instagram กันมาก จึงเชื่อว่าจะช่วยให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้ดี ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้งานแล้วไม่น้อยกว่า 20,000 ราย เชื่อว่าในปี 2020 จะมีกว่า 3 ล้านราย ด้านร้านค้ากว่า 1,500 ราย ก็จะเพิ่มเป็น 20,000 ร้านค้าและในอีก 2-3 ปีจะขยายไปยังประเทศเวียดนามและฟิลิปปินส์ด้วย

ทั้งนี้ คะซึยะ โอกาวา ประธาน บริษัท แกรนด์ ดีไซน์ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมถึงจุดเด่นของ Gotcha! Mall ว่า เว็บแอพพลิเคชั่น Gotcha!mall เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้สมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่อผู้บริโภคกับร้านค้าและแบรนด์สินค้าชั้นนำ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง รวมไปถึงการสร้างโอกาสและความได้เปรียบด้านการแข่งขันทางธุรกิจ

ปัจจุบัน Gotcha!mall ค่อนข้างประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน มีอัตราการเติบโตของการใช้งานอยู่ที่ 332.1%  จากปี  2017-2018 จากปัจจัยความสำเร็จดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทเตรียมขยายพื้นที่การให้บริการ โดยมีเป้าหมายที่กลุ่มประเทศอาเซียน และประเทศแรกที่เราปักหมุดเพื่อขยายธุรกิจในครั้งนี้ คือ ประเทศไทย 

เนื่องด้วยประเทศไทยมีโอกาสที่ดีในด้านการขยายธุรกิจค้าปลีกและอุตสาหกรรมออนไลน์ในปัจจุบัน และเป็น Hub ของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ของผู้บริโภคชาวไทยค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพราะความสะดวก รวดเร็ว เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสก็สามารถได้สินค้าตามที่ตัวเองต้องการ

ดึงระบบ AI เพิ่มความสามารถ

ทางด้านระบบมีการพัฒนาผ่านเทคโนโลยี PWA (Progressive Web Application) มาใช้เชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคและร้านค้าปลีกทำให้ทั้งผู้บริโภคที่จะได้สิทธิพิเศษ และส่วนลดสินค้าจากแบรนด์ดังต่างๆ ด้วยการหมุนคูปองบนเว็บไซต์ https://th.gotchamall.com/ และนำไปใช้ได้ 24 ชม. การให้บริการรูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกสนุกกับการช้อปปิ้ง (Shopping is Entertainment) ทุกที่ทุกเวลา แบบ On-the-go 

ทั้งนี้ ในส่วนของอุตสาหกรรมค้าปลีกก็สามารถจัดการแผนการตลาดและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ด้วยระบบ AI Algorithm บนแพลตฟอร์ม Omni Channel เพื่อเข้าถึงและตอบโจทย์พฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค (Insight) ได้อย่างมากขึ้น โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายทั้งเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 18-50 ปี ในกรุงเทพฯ

จุดเด่นของเว็บแอปฯ นี้คือการดึงระบบ AI Algorithm มาใช้ พร้อมค่อยๆ ขยายพื้นที่การให้บริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ทั้งประเทศกลุ่มอาเซียน จีน และไต้หวัน เพื่อการเชื่อมต่อผู้ใช้เข้าด้วยกัน ด้วยเป้าหมายที่มุ่งเป็น Omni-channel platform บนมือถือที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยเน้นการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นช่องทางกระจายข่าวสารต่างๆ บริษัทจึงมุ่งสนับสนุนผู้ค้าปลีกและธุรกิจอื่นๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขายควบคู่ไปกับการเติบโตของตลาดการท่องเที่ยว