Lazada เผยฐานลูกค้า 50 ล้านราย ขึ้นเป็นแชมป์อีคอมเมิร์ซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Lazada เผยฐานลูกค้า 50 ล้านราย ขึ้นเป็นแชมป์อีคอมเมิร์ซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
19
Sep

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Lazada Group เผยจำนวนฐานลูกค้าประจำทาง เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ (active buyer) ว่าพุ่งสูง 50 ล้านรายต่อปี กลายเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซการ ทำเว็บไซต์ ขายของ อันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สวนทางกับสถิติก่อนหน้านี้ที่สะท้อนว่า Lazada กำลังถูกคู่แข่งรายอื่นบดขยี้จนเสียแชมป์ไป

Pierre Poignant ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Lazada Group ออกมาให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า Lazada กำลังเติบโตอย่างมากสำหรับการ ทำเว็บไซต์ e-commerce  เป็น “ตัวเลขสามหลัก” ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้ Lazada เป็นแชมป์อันดับ 1 ในภูมิภาค แถมบอกชัดว่าทีมงาน Lazada มีความสุขมากกับความคืบหน้าของจุดยืนบริษัท

แก้ข่าวพ่าย Shopee

คำพูดนี้ของผู้บริหาร Lazada ถือเป็นการแก้ข่าวที่รายงานหลายฉบับย้ำว่าแพลตฟอร์มคู่แข่งอย่าง Shopee ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Sea บริษัทอินเทอร์เน็ตดาวรุ่งน้องใหม่ของ เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ นั้นเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาค

หนึ่งในบริษัทวิจัยที่ยกตำแหน่งแชมป์ให้ Shopee ไม่ใช่ Lazada คือ iPrice ที่รวบรวมผลสำรวจแล้วสรุปว่า Shopee มีจำนวนผู้ใช้งานรายเดือนสูงสุด รวมทั้งในมุมยอดดาวน์โหลด และการเยี่ยมชมไซต์ในภูมิภาค โดยสรุปให้ Shopee เป็นแชมป์ของการ ทำเว็บไซต์ e-commerce ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2019

อย่างไรก็ตาม Lazada ยังเป็นผู้นำในแง่ของผู้ใช้งานรายเดือน เพราะครองแชมป์ 4 ใน 6 ของตลาดอีคอมเมิร์ซหลักในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และฟิลิปปินส์ ขณะที่ Tokopedia เป็นผู้นำในอินโดนีเซีย และ Shopee ครองอันดับ 1 ในเวียดนาม

อีคอมเมิร์ซอาเซียนแข่งเดือด

ศึกอีคอมเมิร์ซในอาเซียนนั้นเผ็ดมันดุเด็ดอย่างยิ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Lazada สัญชาติสิงคโปร์นั้นต่อสู้สุดใจกับ Shopee ของ SEA เช่นเดียวกับอีคอมเมิร์ซในท้องถิ่นเช่น Tokopedia และ Bukalapak ที่แข่งดุในอินโดนีเซีย ทั้งหมดกำลังต่อสู้เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซอาเซียนที่เติบโตอย่างรวดเร็วและมีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ ท่ามกลางประชากรที่ร่ำรวยมากขึ้นกว่าเดิมจำนวนกว่า 600 ล้านคน

ความเนื้อหอมของตลาดอีคอมเมิร์ซอาเซียนเกิดบนความท้าทายที่น่าสนใจ ทั้งภาษาที่แตกต่างกัน ประเพณี และนิสัยการช็อปปิ้งที่หลากหลาย ผลคือแต่ละประเทศมีบริการอีคอมเมิร์ซยอดนิยมที่ไม่ซ้ำกัน จุดนี้ Alibaba Group Holding บริษัทแม่ของ Lazada มองว่าไม่ใช่ปัญหา จึงตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นใน Lazada ช่วงปี 2016 ด้วยการลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ในปีต่อมา Alibaba เพิ่มเงินทุนเท่าตัว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 83% จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้ว Alibaba เทเงินทุนเพิ่มใน Lazada อีก 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเร่งการขยายตัว

นอกจากตัวเลขฐานผู้ใช้ Poignant สรุปในการสัมภาษณ์ว่า Lazada ได้รับประโยชน์จากความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซของ Alibaba เต็มที่ โดยพนักงาน Lazada จำนวน 1,200 คน มีโอกาสผ่านการฝึกอบรมที่บริษัทแม่มาแล้ว

ที่มา : https://www.thumbsup.in.th