กันไว้ก่อนแก้ ! 3 ข้อควรทำเมื่อต้องส่งไปรษณีย์

4
Jun

รับทำเว็บไซต์ขายสินค้า

          เชื่อว่าพ่อค้าแม่ค้า ที่ขายสินค้าผ่าน เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ทุกคนต้องเคยประสบปัญหาในการจัดส่งสินค้าแน่นอน ช่องทางในการจัดส่งสินค้าก็มีไม่มากนัก ถ้าเราไม่จัดส่งด้วยตัวเอง ก็อาจใช้บริการ Messenger แต่บริการที่ฮิตที่สุดในหมู่เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ คงจะหนีไม่พ้น “บริการไปรษณีย์” นั่นเอง

          ในการทำธุรกิจค้าขาย การจัดส่งดูเหมือนจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายและเป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุดสำหรับพ่อค้าแม่ค้า บางคนก็วางใจ เมื่อส่งสินค้าไปแล้วก็ถือว่าจบการขาย แต่ความจริงแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ และจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าสินค้าเป็นสินค้าที่แตกหักได้ ต้องยิ่งระวังเป็นพิเศษ

 สิ่งที่เราพึงต้องระวังในขั้นตอนการจัดส่งสินค้ามีดังนี้

1. การจ่าหน้าพัสดุ

รับทำเว็บไซต์ขายสินค้า

             สิ่งแรกที่เราต้องสังเกตและตรวจสอบให้ดี คือ รายละเอียดของผู้ส่งและผู้รับ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ เราควรเขียนไว้ให้ชัดเจนทั้งสองฝ่าย ถึงแม้ว่าข้อมูลของผู้รับจะครบถ้วนสมบูรณ์ดีแล้ว เราก็ไม่ควรชะล่าใจ บางร้านไม่เขียนที่อยู่ผู้ส่ง เขียนเพียงแค่ชื่อร้านเท่านั้น ลองสมมติว่าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ถ้าลูกค้าไม่อยู่รับสินค้าในวันที่ไปรษณีย์ไปส่ง พัสดุจะถูกตีกลับ แล้วถ้าร้านค้าไม่ใส่ที่อยู่ไว้ พัสดุจะตีกลับไปที่ไหน? สุดท้ายลูกค้าไม่ได้สินค้า ร้านค้าก็ไม่ได้สินค้าคืน กลายเป็นปัญหาใหญ่ให้เราต้องมาตามแก้กันอีก

             นอกจากชื่อ นามสกุลแล้ว ที่อยู่ที่ลูกค้าให้มาบางครั้งก็อาจไม่สมบูรณ์เสมอไป เราต้องตรวจเช็คให้ละเอียด ตั้งแต่บ้านเลขที่ หมู่ หมู่บ้าน ซอย ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด และที่สำคัญคือเลขไปรษณีย์ บางครั้งลูกค้าลืมให้บ้านเลขที่ หรือลืมให้เลขไปรษณีย์ สินค้าก็อาจส่งไม่ถึงมือผู้รับได้เหมือนกันนะคะ

2. การบรรจุสินค้า

good

              อย่างที่บอกว่าสินค้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ถ้าเป็นสินค้าทั่วๆไป เราอาจใส่กล่องไปรษณีย์ส่งไปเลยก็ได้ แต่ถ้าสินค้าที่สามารถแตกหักได้ เราควรต้องบรรจุให้แน่นหนา มีกระดาษหรืออุปกรณ์ห่อหลายๆชั้น เพื่อกันการกระแทก เพราะระหว่างขนส่งต้องมีการเคลื่อนย้ายหลายครั้งกว่าจะไปถึงมือผู้รับ

              อย่างไรก็ตาม สินค้าอื่นๆเองก็จำเป็นต้องบรรจุให้แน่นหนาเช่นกัน ไม่ใช่แค่ใส่กล่อง ปิดฝาแล้วจบ เราต้องติดกาว ติดสก๊อตเทป แถมมัดด้วยเชือกอีกหนึ่งชั้น แค่นี้ก็ปลอดภัยแล้วค่ะ

3. การตรวจเช็คสถานะพัสดุ

delivery-parcel

               พัสดุที่เราส่งไป ไม่ใช่ว่าส่งเข้าระบบไปรษณีย์แล้วคือจบนะคะ ตราบใดที่สินค้ายังส่งไม่ถึงมือลูกค้า สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบของเราอยู่ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่เราส่งสินค้าให้ลูกค้าเสร็จ ห้ามทิ้งใบเสร็จที่ได้รับจากไปรษณีย์เป็นอันขาด เพราะในใบเสร็จจะมีเลขที่พัสดุ หรือ Tracking Number สำหรับเช็คสถานะพัสดุว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน อยู่ในขั้นตอนอะไร เวลาใด วันที่เท่าไหร่ เพื่อให้เราติดตามสินค้าได้ตลอดเวลา เราสามารถนำเลขนี้เข้าไปเช็คได้ที่ www.thailandpost.com หรือบางร้านที่มีลูกค้าจำนวนมาก อาจส่งเลขนี้ให้ลูกค้านำไปเช็คสินค้าเอง

                ถ้าเกิดกรณีผิดพลาดขึ้นมา ลูกค้าจะมาแจ้งเรา เราก็สามารถเช็คสถานะสินค้าได้ รวมทั้งติดต่อกับทางไปรษณีย์เพื่อสอบถามรายละเอียด และช่วยกันหาสาเหตุว่า ทำไมสินค้าถึงตกค้าง และไปตกค้างที่ไหนนั่นเอง

               เลือกใช้ระบบหลังร้านที่ช่วยพิมพ์ที่อยู่ลูกค้าอัตโนมัติ ช่วยลดความผิดพลาดในการส่งไปษณีย์ได้

               ร้านไหนที่มีออเดอร์เยอะๆ การที่แชทกับลูกค้าเป็นจำนวนมาก อาจทำให้เกิดการผิดพลาดของข้อมูลจัดส่ง (ชื่อ- ที่อยู่ ของลูกค้าได้)  จะดีกว่าไหม? หากข้อมูลทั้งหมด เราไม่ต้องพิมพ์เอง แต่ให้ลูกค้าพิมพ์กลับมา แล้ว Sellsuki ช่วยเรียงใหม่ให้ในรูปแบบตาราง พร้อมสั่งปริ้นได้ทีละหลายรายชื่อ พร้อมแปะกล่องพัสดุได้เลย

หากท่านได้ลองทำตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมารับลองข้อผิดพลาดจะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นมีโอกาสน้อยมาก สามารถแก้ปัญหาได้ หรือท่านใดที่สนใจธุรกิจร้านค้าออนไลน์เรายินดีให้บริการ มาใช้บริการ รับทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ กับชาวเอที คอนเฟิร์มว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

ที่มา : http://blog.sellsuki.com/should-do-before-shipping/