เตรียมรับมือ! 6 เทรนด์ E-Commerce มาแน่ ในปี 2020

11
Feb

การเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาด E-Commerce แนวโน้มของธุรกิจร้านค้าออนไลน์ในปี 2020
ว่ากำลังก้าวเข้าสู่ยุคไร้พรมแดนแบบเต็มตัวจากกระแสของเทรนด์ ดังต่อไปนี้

1. การทำตลาด E-Commerce ไทยจะดุเดือดขึ้น ????

หากนับจำนวนของสินค้าที่อยู่บน 3 Marketplaces เจ้าใหญ่อย่าง Lazada, Shopee และ JD Central จะพบว่า ในปี 2018 ทั้ง 3 แพลตฟอร์มมีสินค้ารวมกันอยู่ที่ 74 ล้านชิ้น เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับปี 2019 แล้วจะเห็นว่า มีจำนวนสินค้าที่เติบโตมากขึ้นถึง 174 ล้านชิ้นหรือมากถึง 2.4 เท่า โดยจำนวนสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากว่า 77% เป็นสินค้าที่มาจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ส่วนจำนวนสินค้าจากประเทศไทยเองนั้นกลับมีสัดส่วนอยู่บนแพลตฟอร์มที่น้อยกว่ามาก

ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า ตลาดรับทำเว็บไซต์ e-commerce ของไทยกำลังเข้าสู่สนามแข่งขันกับชาวต่างชาติที่ไหลทะลักเข้ามาทำธุรกิจในบ้านเรามากยิ่งขึ้น แน่นอนว่า ในปี 2020 นี้ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าบ้านอย่างเราๆ อาจจะต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้นกันอีกสักหน่อยกับจำนวนสินค้าที่มีในตลาดมากขึ้นจากชาวต่างชาติ แต่ถ้ามองในแง่ของยอดขายก็ยังถือว่าเป็นโชคดีที่คนไทยยังเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ภายในประเทศมากกว่าถึง 86% อาจจะด้วยปัจจัยด้านการขนส่ง ความเชื่อมั่นในตัวรับทําเว็บขายของออนไลน์ หรือการรับประกันสินค้าต่างๆ ที่ต่างประเทศยังไม่สามารถตีตลาดคนไทยในส่วนนี้ได้  แต่ในปี 2020 นี้เทรนด์การซื้อสินค้าอาจเปลี่ยนไป เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้เปิดการค้าเสรี ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าจากต่างประเทศรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม และนี่คือจุดที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญและเตรียมที่จะปรับตัวลงสนามแข่งขันกันมากขึ้น

2. แบรนด์จะหันมาทำ Direct to Customers มากขึ้น

ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเทรนด์รับทำ e-commerce ชั้นนำ  ไทยในปี 2020 ผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ๆ จะเริ่มให้ความสำคัญกับการทำ Direct to Customers ซึ่งเทรนด์นี้เกิดขึ้นจากการที่แบรนด์อยากจะทำความเข้าใจและรู้ใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้าง Customer Loyalty ให้กับธุรกิจของตัวเอง

รวมถึงแบรนด์เองก็อยากจะเป็นเจ้าของ Data ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญที่จะทำให้แบรนด์รู้ทุกอย่างว่า ผู้ใช้งานแต่ละคนดูอะไร ชอบอะไร ซื้ออะไร รุ่นไหน เมื่อไหร่ หรือแม้แต่คาดการณ์ว่าในอนาคตพวกเขาจะอยากซื้ออะไรได้โดยไม่จำเป็นต้องทำผ่านช่องทาง E-Marketplace ต่างๆ อีกต่อไป

3. Social Commerce เป็นช่องทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

หากพูดถึงช่องทางการทำ E-Commerce ที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นตลาด Social Commerce ซึ่งเมื่อนำข้อมูลสัดส่วนของ Platform ต่างๆ ในตลาด E-Commerce มาเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า ในฝั่งของ Social Media ถือเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลในด้านการซื้อขายสูงสุดถึง 40%  และเมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันในหลายๆ ประเทศ จะพบว่า ประเทศไทยถือเป็นผู้นำของตลาด Social Commerce โดยมีจำนวนคนไทยที่เคยชอปปิงผ่านช่องทาง Social Media ต่างๆ สูงถึง 40% ซึ่งเรียกได้ว่ามีจำนวนที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศที่ทำการสำรวจอีกด้วย

เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า Social Commerce เป็นช่องทางที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ และในปี 2020 นี้ ตลาด Social Commerce จะยิ่งคึกคักและตอบสนองการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นได้อีกจากการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการทั้งหลายสามารถปิดการขายได้เลยในแอปพลิเคชันเดียว ยกตัวอย่างเช่น Facebook Pay, Instragram Shopping, Line Shopping เป็นต้น

4. Ride-Hailing Delivery ผนวกกับ E-Commerce

ในปี 2019 เทรนด์ธุรกิจ Ride-Hailing Delivery  ในไทยถือว่าเติบโตขึ้นมากโดยเฉพาะภาค Food Delivery และในปี 2020 นี้ Priceza ได้สรุปและคาดการณ์ไว้ว่า เทรนด์ธุรกิจ Ride-Hailing Delivery จะขยายตัวเข้ามาในภาค E-Commerce  สำหรับตลาด E-Commerce รับทําเว็บขายของออนไลน์ของประเทศอินโดนีเซีย ในแพลตฟอร์ม E-Marketplace ต่างๆ จะมีฟีเจอร์การจัดส่งในรูปแบบ Ride-Hailing Delivery ที่พร้อมทั้งส่งตรงสินค้าถึงมือผู้บริโภคภายในวันเดียว (Same Day Delivery) อยู่ด้วย ดังนั้น การแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2020 ของไทยจะดุเดือดขึ้นกว่าปี 2019 เพราะสินค้าต่างๆ จะเน้นบริการจัดส่งที่รวดเร็วมากขึ้นอย่างแน่นอน

5. เทรนด์การขายผ่าน E-Marketplace ยังคงมาแรง

สำหรับข้อนี้จะเป็นการสรุปประเด็นจาก 3 Speakers ของ Lazada, Shopee และ JD Central ที่เห็นพ้องต้องกันว่า ในยุคนี้การชอปปิงออนไลน์รับทําเว็บไซต์ ขายสินค้าไม่ได้เป็นแค่ช่องทางส่งเสริมการขาย แต่เป็นไลฟ์สไตล์ที่เกิดขึ้นเพื่อความบันเทิงมากขึ้น

และในปี 2020 ก็ถือเป็นเวลาที่ดีที่ธุรกิจทั้งหลายจะเริ่มสร้างตัวตนบนไว้บน E-Marketplace ทั้งนี้ ก็เพื่อรวบรวมฐานลูกค้าและ Data ในตลาด E-Marketplace ที่กำลังมาแรง ด้วยการสร้าง Brand Official Shop ของตัวเองบน Platform ของ E-Marketplace  เพราะจากข้อมูลของสินค้าทั้งหมด 44,000 แบรนด์ มีจำนวนร้านค้าแค่ 1,700 ร้าน หรือคิดเป็น 4% เท่านั้นที่เข้ามาทำตลาดใน E-Marketplace ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าในปี 2020 นี้จะมีจำนวนสินค้าและจำนวนร้านค้าที่เป็น Brand Official Shop เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและไม่เสียโอกาสในการขายให้กับพ่อค้าคนกลางหรือตัวแทนใดๆ ซึ่ง E-Marketplace ทั้งหลายเริ่มปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วยการจัดแคมเปญให้ร่วมสนุก อย่างช่วง 11.11 ที่กระตุ้นให้คนออกมาใช้จ่ายได้มากขึ้น ทำให้เว็บไซต์ Marketplace หลายแบรนด์สร้าง Engagement ที่ดีได้คล้ายกับ Social Media Platform เลยทีเดียว

6. Omni Channel คือโอกาสที่ห้ามลืม

อีกหนึ่งเรื่องที่พูดถึงกันตั้งแต่งาน Priceza เมื่อปีที่แล้ว กับการทำธุรกิจในรูปแบบ Omni Channel ซึ่งเป็นการผสมผสานช่องทางการขายทั้งแบบ Offline และ Online เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อในการชอปปิงสินค้า (Seemless Experience) ให้กับลูกค้าได้มากขึ้นเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งสำหรับเมืองไทย โดยในปี 2019 นี้ก็มีธุรกิจใหญ่อย่าง Central Retail ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มียอดขายหลักเกือบ 100% มาจากออฟไลน์ได้ลองนำ Omni Channel มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ทำให้สัดส่วนของยอดขายจากการทำ Omni Channel มีเปอร์เซ็นการเติบโตขึ้นมาเป็น 2.6%  เมื่อนำเปรียบเทียบกับตลาดอีคอมเมิร์ซทางฝั่งอเมริกา จะเห็นว่า ยอดขายจากการทำ Omni Channel ของประเทศอเมริกาเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 40.9% แสดงให้เห็นว่า ยอดขายจากการทำ Omni Channel ของไทยยังมีโอกาสเติบโตที่สูงขึ้นได้อีกมาก

 

นอกจากนี้ธุรกิจในรูปแบบ Omni Channel ยังมีประโยชน์ในด้านการเพิ่มอัตราการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น อ้างอิงจากข้อมูลของ Central ที่มีอัตราเฉลี่ยของรายจ่ายต่อปีเพิ่มสูงขึ้น 190% จากการ Tranform รูปแบบธุรกิจจากแบบ Offline มาเป็น Omni Channel

 

ที่มา : priceza.com