ว้าวๆอะไรคือ Success Stories ? เมื่อ “ดารา – เซเลบ” แจ้งเกิดกับอีคอมเมิร์ซในฐานะ “พ่อค้า – แม่ขาย”

ว้าวๆอะไรคือ Success Stories ? เมื่อ “ดารา – เซเลบ” แจ้งเกิดกับอีคอมเมิร์ซในฐานะ “พ่อค้า – แม่ขาย”
11
Sep

ในยุคที่ทุกคน “อยากมีธุรกิจ” เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของแบรนด์ที่มีสินค้าวางขาย หรือสวมบทพ่อค้าแม่ขายบนเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์แพลตฟอร์มออนไลน์ วันนี้เราจึงได้เห็นข้าวของมากมายที่ไม่เคยคิดว่าจะ “ขายได้” บนโลกออนไลน์ กลายเป็นสินค้าขายดิบขายดี แถมยังกลายเป็น “เวทีแจ้งเกิด” ให้กับพ่อค้าแม่ค้าเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ที่มีคาแรกเตอร์แหวกแนว โด่งดังกันไม่รู้กี่คนต่อกี่คนมาแล้ว!

แล้วในมุมกลับกัน…คุณเห็น ดารา เซเลบ สวมบทบาทเจ้าของธุรกิจ ค้าขายบนโลกออนไลน์ทำเว็บไซต์ ขายของ และประสบความสำเร็จ มาก – น้อย กี่คน ?

แน่นอนว่าเรารู้จักชื่อ กาละแมร์ – พัชรศรี เบญจมาศ ในฐานะพิธีกรหญิงแถวหน้าของประเทศ แต่ในยุคที่ทุกคนหันมาสนใจค้าขายผ่านตลาดออนไลน์ กาละแมร์ ก็เป็นอีกคนที่ผันตัวเองมาเป็นเจ้าของแบรนด์ Powerballs by Kalamare ทำให้ชื่อเสียงที่โด่งดังในวงการบันเทิงขยายสู่แวดวงอีคอมเมิร์ซด้วยภาพ “แม่ค้าเซเลบ” อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับนักแสดงหนุ่มอย่าง กิก – ดนัย จารุจินดา ที่ขยับตัวสู่โลกธุรกิจ ด้วยการสร้างแบรนด์ Kari Kari ที่ต่อยอดธุรกิจจากความชอบส่วนตัวสู่การเป็น “พ่อค้าเซเลบ”

นอกจากความสำเร็จด้านยอดขายที่สามารถเจาะตลาดออนไลน์ได้แล้ว สิ่งที่ทั้ง 2 คน มีเหมือนกัน คือ การเป็นหนึ่งใน “Shopee Celebrity Club” บนแพลตฟอร์มของ Shopee ซึ่งไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ Shopee ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวอย่างเข้มแข็ง มีเซเลบในระบบนับ 100 คน เรียกว่าไทยติดอันดับต้น ๆ ของแพลตฟอร์ม Shopee ที่หันมาใช้กลยุทธ์ดังกล่าวอย่างจริงจัง

shopee 001

                 แคมเปญ 9.9 กับกลยุทธ์ Shopee Celebrity Club

ถามว่า “การมีเซเลบ ดารา รับบทบาทพ่อค้าแม่ค้าบนแพลตฟอร์มรับทำเว็บ ecommerce  สร้างคุณค่าให้แพลตฟอร์มอย่างไร” คำตอบก็คือ…ชื่อเสียงรวมถึงแฟนคลับที่ชื่นชอบและติดตามบุคคลเหล่านั้น จะหันมารู้จักชื่อของ Shopee มากขึ้น แน่นอนว่าอาจจะทำให้แฟน ๆ เข้ามาเลือกใช้งานแพลตฟอร์มมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน การที่แพลตฟอร์มมีเครื่องมืออย่างการ “Live” ก็ยิ่งทำให้เกิดเอนเกจเมนท์กับ Shopee มากขึ้นตามไปด้วยเพราะช่วยดึงดูดแฟน ๆ ให้เข้ามาชมและสนับสนุนดาราที่ตนเองชื่นชอบ อีกด้านหนึ่ง เหล่าเซเลบเจ้าของแบรนด์ก็ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้เต็ม ๆ เพราะฐานลูกค้าบนแพลตฟอร์ม Shopee ที่มียอดดาวน์โหลดถึง 30 ล้านครั้งในไทย นั่นหมายความถึง “ประตูโอกาส” บานใหญ่ของพ่อค้าแม่ค้าเซเลบเช่นกัน ดังนั้น การที่แพลตฟอร์มจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งสื่อสารกับลูกค้าก็ดี จัดโปรโมชันกระตุ้นยอดขายด้วยเทศกาลช้อปปิ้งก็ดี ยิ่งกลายเป็นทีเด็ดมัดใจทั้งเหล่าแฟนคลับและบรรดาเซเลบ ให้ตรึงแน่นอยู่กับแพลตฟอร์ม

อย่างที่เกริ่นไว้แล้วว่า เรารู้จักชื่อ กาละแมร์ – พัชรศรี และ กิก – ดนัย ในฐานะคนบันเทิงอยู่แล้ว แต่บนเส้นทาง “ค้าขายทำเว็บไซต์ ขายของออนไลน์” ชื่อของพวกเขาเป็นเสมือน “น้องใหม่” ตั้งแต่จุดเริ่มต้น เส้นทาง และความสำเร็จของพวกเขาเป็นอย่างไร แนวคิด และการบริหารจัดการในฐานะผู้ประกอบการหน้าใหม่เป็นเช่นไร อยากชวนคุณลองมาศึกษาไปด้วยกัน…

“ที่หลายคนมองว่าดาราหันมาทำธุรกิจหรือค้าขายแล้วประสบความสำเร็จเพราะชื่อเสียงที่มีอยู่ ยอมรับว่าช่วงแรกก็รู้สึกกังวล แต่เมื่อมีการซื้อซ้ำเกิดขึ้น นั่นเป็นเครื่องยืนยันว่าเราประสบความสำเร็จจากสินค้าจริง ๆ เรื่องนี้ทำให้เราต้องคิดและวางแผนใหม่ ตลอด 2 ปีในการมีแบรนด์ของตัวเอง เราต้องเปลี่ยนจากการใช้ชื่อเสียงตัวเองเป็นเครื่องการันตี สู่การสร้างทีมงานและสินค้าคุณภาพเพื่อมอบความไว้เนื้อเชื่อใจแก่ลูกค้า ในวันที่ผู้บริโภคมีทางเลือกมากมาย นั่นหมายความว่าพวกเขามีสิทธิ์เลือกว่า อะไรที่ดีและคุ้มค่าสำหรับพวกเขา”

shopee 02

กาละแมร์ – พัชรศรี เบญจมาศ

เริ่มต้นจาก “ชอบ – ทำแจก” สู่…ยอดขายถล่มทลาย

คุณกาละแมร์ ย้อนถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจว่า จากการเป็นคนรักสุขภาพ หันมาออกกำลังกาย ดูแลตนเอง ทำให้ต้องหาข้อมูลด้านสุขภาพเยอะว่าอะไรที่กินแล้วดีต่อร่างกาย แต่ขณะเดียวกันก็ยังชอบกินขนม หาของอร่อยมาเติมพลัง จึงอยากทำขนมที่กินแล้วอร่อยและไม่ทำลายสุขภาพได้พร้อมกัน ซึ่งในต่างประเทศมีข้อมูลและความก้าวหน้าในเรื่องดังกล่าวมากอยู่แล้ว เลยค้นหาวัตถุดิบและลองปรุงรสด้วยตัวเองเพื่อหารสชาติแบบที่ต้องการ จากนั้นก็เริ่มทำแจกคนรอบตัวแบ่งปันให้ชิม แต่ทุกคนชื่นชอบและยุให้ทำขาย ซึ่งได้โอกาสขายครั้งแรกในอีเวนท์การออกกำลังกายระดับประเทศซึ่งขายหมดอย่างรวดเร็ว

จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการทำขนมแบบเฮลธ์ตี้ไว้กินเอง ตอนนี้ภายใต้แบรนด์ by Kalamare ยังขยายเป็นสินค้าต่าง ๆ อย่างหลากหลาย อาทิ Powerballs, Powerbars, Choco Nuts, Mary’s Joy Stick และอื่น ๆ (แบ่งออกเป็น 4 บริษัท)

ทุกคนบอก “เศรษฐกิจไม่ดี” สินค้า “เฮลธ์ตี้” จะเติบโตอย่างไร ?

เรื่องที่ผู้ประกอบการมองว่าสภาพเศรษฐกิจไม่ดี ผู้คนไม่ค่อยใช้จ่ายนั้น คุณกาละแมร์ กลับมองว่า “ขึ้นอยู่กับว่าคุณค้าขายที่ไหน สินค้าของคุณมีคุณภาพหรือไม่ รู้จักลูกค้าดีหรือยังหาเจอหรือไม่ว่าพวกเขาอยู่ตรงไหน อย่ามัวโทษปัจจัยอื่นว่าทำให้การค้าขายไม่ดี เศรษฐกิจ การเมือง แม้แต่ดราม่าวงการบันเทิงก็ตาม อยากให้ทุกคนใช้เวลาและโฟกัสที่ธุรกิจของเราเป็นหลัก”

สำหรับความยากของการขายสินค้าสายสุขภาพ มองว่าเป็นเรื่องการคิดค้นสูตรให้สินค้ามีรสชาติดีและใช้แต่วัตถุดิบดี ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าเรากินแบบไหนลูกค้าก็จะได้กินแบบนั้นเช่นกัน โดยเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญของคนรักสุขภาพ เพราะพวกเขายอมจ่ายเงินให้กับสินค้าที่มีคุณภาพและดีต่อสุขภาพ เรียกว่ายอมลงทุนเพื่อผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพ และเมื่อเกิดความมั่นใจ เชื่อมั่นให้แบรนด์แล้ว พวกเขาจะส่งต่อความมั่นใจให้คนที่รักได้มีสุขภาพดีตามไปด้วย ไม่ใช่เรื่องของการหาขนมที่กินแล้วผอมหรือลดน้ำหนัก แต่ทุกสินค้า by Kalamare จะเป็นขนมทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพ

ในฐานะผู้ประกอบการที่มีแบรนด์เป็นของตนเอง ส่วนตัวมองว่าปัญหาใหญ่ คือ “ต้องการเวลา” มากกว่า 24 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นคนทำงานเยอะแต่ต้องการควบคุมคุณภาพสินค้าและธุรกิจด้วยตนเองทั้งหมด จึงเลือกเป็นผู้ตัดสินใจเองในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ การออกแบบแพ็กเกจจิ้ง การพูดคุยกับลูกค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ เพราะต้องการรู้ผลลัพธ์ว่าลูกค้าชอบอะไร อยากได้แบบไหนเพิ่มเติม ซึ่งอาจเป็นข้อดีส่วนตัวที่รู้สึกสนุกกับการทำงาน ดังนั้นการแบ่งงานออกเป็น 4 บริษัท เพื่อดูแลสินค้าและแบรนด์จึงกลายเป็นเรื่องสนุกที่อยากทำในทุกวัน

shopee 01

“การเป็นหนึ่งใน Shopee Celebrity Club บนแพลตฟอร์ม Shopee ทำให้สินค้าเราได้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมกระตุ้นยอดขายอย่าง Flash Sale หรือการ Live ที่แพลตฟอร์มจัดทำให้ได้พบปะกับผู้ซื้อตัวจริงโดยไม่ต้องเสียเงินค่าเช่าร้าน หาทำเลเปิดหน้าร้าน ก็สามารถขายผ่านออนไลน์ได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีชื่อเสียง เป็นดารา แต่คนทั่วไปก็ใช้งานและได้รับสิทธิพิเศษแบบนี้เช่นกัน”

ซึ่งช่องทางจำหน่ายสินค้า by Kalamare นั้น ใช้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ได้แก่ LINE@, Shopee และการออกบูธ ซึ่งเจ้าของแบรนด์เล่าว่า ในช่วงที่ Shopee จัดกิจกรรม Flash Sale และมหกรรมช้อปปิ้งช่วงต่าง ๆ สามารถเพิ่มยอดขายได้มาก 5-6 เท่าตัวเลยทีเดียว

ขาด “ทักษะโซเชียล” จุดอ่อน SME ไทย

คุณกาละแมร์ มองว่า สิ่งที่เป็น “อุปสรรค” สำหรับผู้ประกอบการไทย คือ ความรู้ด้านโซเชียลมีเดียเพื่อพัฒนาสินค้าและธุรกิจ แม้ว่าในแง่การขาย โซเชียลมีเดียจะเป็นโอกาสที่สำคัญก็ตาม และอีกเรื่องสำคัญ คือ SME ไทยค้าขายไม่เก่ง แม้จะมีหลาย ๆ คนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากจากการขายออนไลน์ แต่ส่วนใหญ่นั้นเก่งเรื่องพัฒนาสินค้ามากกว่า วิธีแก้ปัญหานี้ควรใช้ “ความซื่อสัตย์” ในการแก้ปัญหา ต้องนึกแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลูกค้าต้องการสินค้าคุณภาพ ราคาคุ้มค่า การบริการอย่างเอาใจใส่ เราก็ต้องนำมาพัฒนาและทำให้ได้เช่นนั้น อยากให้นึกไว้เสมอว่า “ลูกค้าที่ผู้มีเกียรติที่ยอมจ่ายเงินให้เรา” ดังนั้นเราต้องกล้า ต้องเรียนรู้ หรือหากเกิดความผิดพลาดก็ต้อง “ยอมรับ” และ “ขอโทษ” ให้เป็น

แค่ 3 เคล็ดลับ…คนธรรมดาก็กลายเป็นผู้ประกอบการได้

นอกจากนี้ คุณกาละแมร์ ยังได้แนะนำเทคนิคสำหรับผู้ที่อยากเป็นผู้ประกอบการว่า มีคำแนะนำแค่ 3 ข้อ คือ “ถามตัวเอง” ต้องถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าเก่งอะไร ชอบอะไร หรือสนใจขายสินค้าประเภทไหน หากเทียบแล้วสามารถแข่งขันในตลาดได้ เช่น มีคุณภาพดีกว่า ราคาถูกกว่า หรือรู้จักแหล่งผลิต แหล่งนำเข้าหรือไม่, “รู้ช่องทางขาย” เรื่องนี้ไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะปัจจุบันมีช่องทางให้เลือกขายได้หลากหลายโดยเฉพาะบนออนไลน์ ซึ่งไม่ต้องลงทุนสูงก็สามารถขายสินค้าได้ทันที และแต่ละแพลตฟอร์มก็มีลูกค้า, “ขยัน” เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเพราะการเป็นเจ้าของธุรกิจ หมายความว่าคุณจะไม่มีวันหยุดและล้มเลิกง่าย ๆ ไม่ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดทั้งหมด คือ “ควรทำด้วยความสนุก” พร้อมกับเรียนรู้ด้วยตนเองให้มาก

shopee 03

กิก – ดนัย จารุจินดา

“ผมยอมรับว่าช่วงแรกเคยคิดว่าการเป็นดารา ช่วยให้สินค้าของเราขายดี แต่เมื่อทำธุรกิจเรื่องนั้นอาจเป็นจริงแค่ช่วงแรก หากสินค้าไม่มีคุณภาพก็จะฮิตเร็วแล้วจบ แต่ถ้าของคุณมีคุณภาพจริงลูกค้าก็จะถามหาและซื้อซ้ำ หรือกลับกันก็คือ ถ้าสินค้าคุณไม่ดีก็ยิ่งส่งผลต่อชื่อเสียงเช่นกัน และเมื่อสร้างการซื้อซ้ำได้แล้ว แบรนด์ก็ยังต้องพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง เช่น ออกรสชาติใหม่ ทำโปรโมชัน กระจายสินค้าหลาย ๆ ช่องทาง ทำตลาดอย่างสม่ำเสมอ และใช้โซเชียลทั้งสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขาย”

เคยขายดีบน “ออฟไลน์” แต่ “ออนไลน์” ดันยอดโตยิ่งกว่า

คุณกิก เจ้าของแบรนด์ Kari Kari เล่าที่มาของการทำธุรกิจว่า จุดเริ่มต้นมาจากการเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นซึ่งมีเมนูหนังปลาแซลมอนปรุงรสทอดกรอบ ตนเองก็ชอบเมนูดังกล่าว และเป็นหนึ่งในเมนูยอดนิยมที่ลูกค้าสั่งและถามหาเพื่อซื้อกลับบ้านด้วย ทำให้เกิดไอเดียต่อยอดสินค้าดังกล่าวในแพ็กเกจจิ้งแบบห่อ ประกอบกับกระแสขนมเคลือบไข่เค็มมาแรง จึงนำทั้ง 2 ไอเดียรวมกัน กลายเป็นแบรนด์ Kari Kari (คาริ คาริ) ซึ่งมีความหมายว่ากรอบ

เรื่องช่องทางจำหน่ายในช่วงแรกยอมรับว่าการขายผ่านโมเดิร์นเทรดนั้น สร้างการรับรู้ในแบรนด์และได้ยอดขายจำนวนมาก ซึ่งตอนนั้นขายผ่านกูร์เมต์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, ฟู้ดแลนด์ จนทำให้เราหันไปให้ความสำคัญกับการขายผ่านช่องทางออฟไลน์เป็นหลัก แต่เมื่อขยายช่องทางสู่ออนไลน์ คือ เฟซบุ๊กเพจ และ Shopee ซึ่งทำให้เข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากกว่าจากการโปรโมทสินค้า ส่งผลให้ยอดขายทางออนไลน์เติบโตขึ้นถึง 10 เท่าตัว ทำให้เราเลือกเปิดตัวสินค้ารสต้มยำและรสลาบ รสชาติใหม่ผ่านแพลตฟอร์ม Shopee เพิ่มเติมจาก 2 รสเดิมอย่าง รสไข่เค็ม และรสซาวครีมหัวหอม

“การขายบนออนไลน์ไม่ได้ช่วยให้เข้าถึงลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นเพียงอย่างเดียว เพราะการขายผ่าน Shopee ทำให้เรามีหลังบ้านที่เป็นระบบมากกว่าการดำเนินงานเอง และมีทีมงานช่วยเทรนด์การใช้ระบบและการขาย รวมถึงช่วยจัดโปรโมชันได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า แตกต่างจากการขายผ่านออนไลน์ช่องทางอื่นที่เราได้ผลตอบรับดี แต่ต้องหาความรู้และทักษะการจัดการเอง”

“การผลิต – รักษามาตรฐาน” เรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการห้ามหลุด!

คุณกิก เล่าถึงความกังวลในฐานะผู้ประกอบการว่า “การผลิต” ถือเป็นหนึ่งในความยากที่จำเป็นต้องวางแผนตลอดเวลา ทั้งเรื่องการกระจายสินค้าอย่างมีคุณภาพเพื่อไม่ให้สินค้าต้องสต็อกนานเกินไป หรือแม้แต่การ “ควบคุมมาตรฐาน” ที่ต้องใส่ใจถึงความสะอาดและการดำเนินงานอย่างพิถีพิถัน เพราะยิ่งมียอดขายเพิ่มขึ้น กระบวนการผลิตอาจจะเกิดการผิดพลาดได้มาก

สื่อออนไลน์ทำให้ “ทุกคน” เป็นผู้ประกอบการได้

สำหรับผู้ที่อยากเป็นผู้ประกอบการ คุณกิก แนะนำว่า ตอนนื้ทุกคนสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีแพลตฟอร์มออนไลน์หลากหลาย ซึ่งช่วยให้เข้าถึงลูกค้าจำนวนมาก ส่วนไอเดียเริ่มต้นธุรกิจนั้น อยากให้ทุกคนเริ่มจากความชอบของตนเองก่อน จะได้ใส่ใจสินค้าและอยากพัฒนาธุรกิจของตนเองอย่างต่อเนื่อง

ที่มา.https://www.marketingoops.com