เป็นที่ตกใจ Honestbee หนี้อ่วม เบ็ดเสร็จอย่างต่ำ 289 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

เป็นที่ตกใจ Honestbee หนี้อ่วม เบ็ดเสร็จอย่างต่ำ 289 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
14
Aug

สตาร์ทอัปส่งอาหารทำเว็บขายออนไลน์ของอย่าง Honestbee ถูกเจ้าหนี้กดดันให้ชำระเงินค้างมูลค่า 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (133.4 ล้านบาท) และยังเป็นหนี้อย่างน้อย 289 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ที่ยังไม่จ่ายชำระให้กลุ่มเจ้าหนี้รายหลัก (6,424 ล้านบาท) ถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจซึ่งสะท้อนว่า Honestbee บริษัทที่ทำเว็บไซต์ ขายของอาหารออนไลน์จำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้อย่างเร่งด่วน

ตัวเลขหนี้สินพันตัวของ Honestbee ถูกรายงานจากเอกสารของบริษัทที่แจ้งต่อศาลสูงสิงคโปร์ ข้อมูลยังระบุว่า Honestbee มีสัญญาเช่าหลักที่ค้างชำระสำหรับพื้นที่ 3 ส่วนที่ Boon Leat Terrace เพื่อจัดสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตของตัวเอง ยังมีพื้นที่สำหรับร้านค้าปลีกที่ Blk 2 Tampines Logis Park ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนค่าใช้จ่ายของ Honestbee ที่ชัดเจน

นอกจากนี้ Honestbee ยังมีสัญญาเช่ารถตู้เพิ่มอีก 19 คันจาก Goldbell Leasing และ Think One Leasing ตามเอกสารคำให้การ ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่ Honestbee ไม่ได้ชำระตามกำหนด

เบ็ดเสร็จแล้ว ตัวเลขหนี้ที่เผยในเอกสารถือว่าสูงกว่าที่ Ong Lay Ann ประธานบริหาร Honestbee เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อสิงคโปร์มาก่อนหน้านี้ ว่าบริษัทอาจเผชิญกับหนี้สูงกว่า 180 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากแปลง 289 ดอลลาร์สิงคโปร์เป็นดอลล์สหรัฐ จะพบว่า Honestbee กำลังมีหนี้สินมากกว่า 209 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในชั้นศาล ผู้บริหาร Honestbee ยอมรับว่าบริษัทได้รับหนังสือเตือน (Statutory Demand) 4 ฉบับให้ชาระหนี้มูลค่ารวม 940,942 ดอลลาร์สิงคโปร์ (20.9 ล้านบาท) ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ยังมีจดหมายแจ้งหนี้ค้างชำระอีก 34 ฉบับ คิดเป็นมูลค่ารวม 5.1 ล้านดอลล์สิงคโปร์ (ราว 113 ล้านบาท)

Brian Koo ประธาน Honestbee สังกัดบริษัท A Honestbee Pte Ltd และกลุ่ม Formation Investors ถูกระบุว่ามีความสนใจลงทุนสูง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละบริษัท สอดคล้องกับความตั้งใจของบริษัทที่จะมุ่งทำงานต่อในรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนตลาด ซึ่ง Ong Lay Ann ย้ำว่าจะจัดหาเทคโนโลยีที่จำเป็นในการนำร้านค้าออฟไลน์มาแจ้งเกิดบนออนไลน์ ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มพื้นที่เก็บสินค้าของร้าน หลังจากการปรับโครงสร้างหนี้เรียบร้อย

สิ่งที่สรุปได้จากข่าวนี้คือ Honestbee ยังไม่ยอมแพ้ และจะพยายามปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้สามารถกลับมาทำธุรกิจได้อีกครั้ง ที่ผ่านมา บริษัทมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการทุน จนทำให้ไม่มีเพียงพอสำหรับการชำระต้นทุนค่าเช่า ทั้งรถและสำนักงาน รวมถึงต้นทุนสินค้าและทำเว็บไซต์ ขายของอีก

ของซัปพลายเออร์ รวมถึงระบบไอทีพื้นฐานที่เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกวัน.

ที่มา.https://www.thumbsup.in.th