ในวันที่ผู้บริโภคไม่เชื่อแบรนด์ เทรนด์ UGC จึงเป็นพลังที่สำคัญแก่การพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ในวันที่ผู้บริโภคไม่เชื่อแบรนด์ เทรนด์ UGC จึงเป็นพลังที่สำคัญแก่การพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
1
Aug

ในยุคที่ผู้บริโภคไม่เชื่อแบรนด์ แต่เชื่อในสิ่งที่ผู้บริโภคด้วยกันพูดมากกว่า นี่จึงทำให้เทรนด์ UGC (User Generated Content) มาแรงในทุกอุตสาหกรรมของปีนี้ โดยเฉพาะอีคอมเมิรซ์ทาง เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ที่เติบโตได้ด้วยแรงขับเคลื่อนของ UGC หรือคอนเทนต์ที่มาจากผู้บริโภค ซึ่งเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือไม่ก็ได้ ผ่านการเขียนบล็อก โพสต์ลงใน Social Media รวมถึงการรีวิวบนแพลตฟอร์มต่างๆ

เทรนด์ UGC ในยุคนี้เกิดขึ้นง่ายและเร็วกว่าแต่ก่อนด้วยระบบ ทำเว็บไซต์ e-commerce เพราะทุกคนมีสมาร์ทโฟน และมีช่องทางโซเชียลของตัวเอง แบรนด์สามารถนำคอนเทนต์เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเพิ่ม Engagement ได้ เช่น การจัดแคมเปญเชิญชวนให้ผู้บริโภครีวิวสินค้าเพื่อรับรางวัล หรือการแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เพื่อรับส่วนลด เป็นต้น จากการเก็บข้อมูลผู้ใช้ของไพรซ์ซ่า (Priceza) จำนวน 42,135 รีวิว และการทำ A/B Testing ของไพรซ์ซ่า โดยทำการเปรียบเทียบสินค้าชนิดเดียวกันระหว่างสินค้าที่มีการรีวิวจากผู้ใช้งานจริง กับไม่มีการรีวิว พบว่า สินค้าที่มีการรีวิวนั้น มียอดการคลิกสินค้าสูงกว่าถึง 22.89%

นอกจากนี้ ไพรซ์ซ่า ยังได้สรุปเทรนด์การค้นหาสินค้าของคนไทยในระบบ เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ในปี 2017 จากการค้นหาเฉลี่ยมากกว่า 10 ล้านครั้งต่อเดือน พบว่า กลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมค้นหาและเปรียบเทียบราคามากที่สุด 3 อันดับแรกคือ เสื้อผ้าและแฟชั่น 14.77 % เครื่องใช้ไฟฟ้า 13.96% และ โทรศัพท์อุปกรณ์สื่อสาร 11.38% โดยสินค้าที่มีการค้นหาสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ iPhone 5s iPhone 6s และกล้อง Fuji X-A2 วันและช่วงเวลาที่มีผู้เข้าใช้บริการค้นหาสินค้ามากที่สุดคือ วันจันทร์ ช่วงเวลาระหว่าง 21.00-21.59 น. วันอังคาร ช่วงเวลาระหว่าง 14.00-14.59 และวันศุกร์ ช่วงเวลาระหว่าง 15.00-15.59 น.ตามลำดับ

ในส่วนของมูลค่าการซื้อสินค้าออนไลน์ต่อ 1 ครั้งเฉลี่ยอยู่ที่ 1,800 บาท ถ้าเป็นการซื้อสมาร์ทโฟนอยู่ที่ 1,177 บาทต่อออเดอร์ และมียอดสั่งซื้อผ่านคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊คหรือพีซีอยู่ที่ 2,008 บาทต่อออเดอร์ เมื่อมูลค่าการซื้อต่อครั้งสูง เพื่อให้มั่นใจก่อนจ่ายเงิน ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะทำรายการผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจใช้สมาร์ทโฟนค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบราคาเพื่อให้แน่ใจก่อน

ด้วยเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้พวกเขารู้สึกคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าออนไลน์ ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยอย่างมาก

ที่มา :  www.marketingoops.com