Line บทพิสูจน์ของฟรีไม่มีในโลก และการล่าเมืองขึ้นยุคใหม่

Line บทพิสูจน์ของฟรีไม่มีในโลก และการล่าเมืองขึ้นยุคใหม่
8
Oct

วันเสาร์สบายๆวันนี้ไปคุยเรื่อง Line โซเชียลมีเดียชื่อดังที่คนไทยใช้กันมากที่สุดในโลกกันนะครับ Line มีผู้ใช้ทั่วโลก 187 ล้านคน เป็นคนไทย 44 ล้านคน หรือ 63% ของคนไทยทั้งประเทศ ไม่มีชาติไหนใช้ไลน์มากเท่าคนไทย วันก่อนมีข่าวว่า Line@ กับ Line Official Account ควบรวมกันเองเป็น Line Official Account บัญชีเดียว ส่งผลให้ เอสเอ็มอีไทยไซส์เล็กที่ใช้ Line@ กว่า 3 ล้านรายได้รับผลกระทบทันที โดยเฉพาะ สื่อออนไลน์ เพราะ ไลน์คิดค่าส่งข้อความเฉลี่ยข้อความละ 0.1 บาท จากเดิมที่คิด

ผมเคยเขียนเตือนมาตลอด“ของฟรีไม่มีในโลก” ทุกอย่างมีต้นทุนทั้งนั้น

Line เข้ามาทำธุรกิจทาง เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ในไทยหลายปีแล้ว มีรายได้เพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก แต่ผลประกอบการกลับขาดทุน เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง ปี 2561 ไลน์ประเทศไทยมีรายได้กว่า 2,331 ล้านบาท แต่มีรายจ่ายสูงถึง 2,800 กว่าล้านบาท ทำให้ขาดทุนสุทธิ 475.87 ล้านบาท ขณะที่ Line Corp บริษัทแม่ ปี 2018 ก็มีรายได้กว่า 1,910 ล้านดอลลาร์ ราว 59,000 ล้านบาท ผมไม่รู้ว่า กรมสรรพากร เคยเข้าไปตรวจสอบ บริษัทโซเชียลมีเดียการ ทำเว็บไซต์ e-commerce ของต่างชาติ ที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทยบ้างหรือไม่ แต่ถ้าเป็น บริษัทคนไทย ผลประกอบการออกมาสวนทางกันแบบนี้ รับประกันซ่อมฟรี ถูกเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเรียกไปตรวจสอบบัญชีย้อนหลังแน่นอน

วันนี้ Line ประเทศไทย ไม่ใช่เป็นแค่โซเชียลมีเดียอย่างเดียว แต่ยังทำธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ ธุรกิจการเงินแบบ เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ด้วย เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากข้อมูลลูกค้าที่ใช้ไลน์กว่า 44 ล้านคน เช่น Line Pay, Line Shopping, Line Taxi, Line Man, Line TV, Line Today

จากไลน์ไปดูอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ต่างชาติอีกสองรายที่กำลังมาแรง รายแรก Lazada อยู่ในเครือของอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จีน Alibaba ไปดูงบการเงินของ ลาซาด้า กันเสียหน่อยนะครับ ปี 2558 มีรายได้ 3,197 ล้านบาท ขาดทุน 1,959 ล้านบาท ปี 2559 มีรายได้ 4,267 ล้านบาท ขาดทุน 2,115 ล้านบาท ปี 2560 (ข้อมูล 31 มีนาคม) มีรายได้ 1,757 ล้านบาท ขาดทุน 568 ล้านบาท

Shopee อีคอมเมิร์ซน้องใหม่ในเครือ Tencent อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จีนที่ถือหุ้น Shopee ผ่านบริษัทในเครือ Sea Group ที่สิงคโปร์ ก็เหมือนกัน ปี 2561 มีรายได้ 165 ล้านบาท มีรายจ่าย 4,279 ล้านบาท ขาดทุน 4,113 ล้านบาท ถอยไปปี 2560 มีรายได้ 139 ล้านบาท รายจ่าย 1,543 ล้านบาท ขาดทุน 1,404 ล้านบาท

บริษัทอีคอมเมิร์ซต่างชาติ และ สตาร์ตอัพ อีกหลายบริษัท ทุกบริษัทที่มาเปิดกิจการในเมืองไทย ล้วนขาดทุนมากมายทั้งสิ้น แล้วบริษัทเหล่านี้ยังลงทุนต่อเพื่ออะไร

คำตอบง่ายๆก็คือ “การยึดตลาดประเทศไทย” ที่มี ประชากรกว่า 69 ล้านคน ผ่านตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่รัฐบาลไทยเปิดให้บริษัทต่างชาติเข้ามาอย่างเสรี แต่ ไม่ปกป้องสนับสนุนบริษัทไทยให้แข็งแรงสู้ต่างชาติได้ เป็นการ “ล่าเมืองขึ้นยุคใหม่” ในอนาคตประวัติคนไทยจะไปอยู่ในถังข้อมูล อาลีบาบา ลาซาด้า เทนเซ็นต์ และ ช้อปปี้ หมด

เมื่อวันพุธนี้เอง กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ แถลงว่า กำลังเปิดการสอบสวนบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ แต่ไม่บอกชื่อ เพื่อประเมินว่าบริษัทเหล่านี้ดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ “ผูกขาด” หรือไม่ กระทรวงจะตรวจสอบด้วยว่า “แพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำ” ที่ “มีอำนาจทางการตลาด” มีการปฏิบัติที่ทำให้ “ลดการแข่งขัน” และ “ขัดขวางนวัตกรรม” เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ รวมทั้ง การป้องกันการนำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไปใช้ในทางที่ผิด สิ่งเหล่านี้คนไทยคงไม่ได้เห็นจาก กระทรวงยุติธรรมไทย แน่นอน

วันวาน คณะกรรมาธิการการค้าสหรัฐฯ (FTC) ก็เพิ่งประกาศว่า Facebook ยอมจ่ายค่าปรับ 5,000 ล้านดอลลาร์ 155,000 ล้านบาท กรณี ทำข้อมูลส่วนตัวลูกค้า 87 ล้านรายหลุดไปให้บริษัท Cambridge Analytica รวมทั้งกรณีอื่นๆ ผมอ่านแล้วก็ได้แต่เก็บมาเล่าสู่กันฟัง เราคงไม่ได้เห็น รัฐบาลไทยปกป้องคนไทยเช่นนี้ แน่นอน 5 ปีที่ผ่านมาก็ได้เห็นแล้ว มีแต่เศรษฐีที่รวยขึ้นมหาศาล คนจนกลับจนลงและหนี้เพิ่มขึ้น.

นราคาเหมาจ่าย ส่งผลให้
ผู้ประกอบการบางรายหันไปใช้โซเชียลมีเดียอื่นแทน

ที่มา :  www.thairath.co.th