วิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ Cloud 5 เจ้าใหญ่ในปัจจุบัน

2
Mar

cloud-computing

ปัจจุบันเทคโนโลยี Cloud เข้ามามีบทบาทกับการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่จะรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจะต้องควักเงินก้อนใหญ่เพื่อลงทุนซื้อ Hardware ใหม่ ทำให้ทุกวันนี้มีผู้บริการมากมายกว่า 20 เจ้า ด้วยเหตุนี้จึงมีบริการของ Cloud Spector ที่เข้ามาตรวจสอบดูผู้ให้บริการ Cloud เพื่อที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ทำธุรกิจเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ทั้งหลายได้รู้ว่าตัวไหนมีประสิทธิภาพดีที่สุดด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด
รายงานจากทาง Cloud Spectator นี้จะนำผู้ให้บริการ 5 รายใหญ่ในปัจจุบัน มาทำการวัดประสิทธิภาพ ได้แก่ Amazon EC2, Rackspace OpenStack Cloud, HP Cloud, SoftLayer CloudLayer Compute และ Windows Azure. โดยใช้เวลา 5 วันในการดูประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งสิ่งที่พบก็ค่อนข้างน่าสนใจและผิดกับที่หลาย ๆ คนคิดกัน

ก่อนอื่น ย้อนกลับไปเมื่อปี 2011 เราได้เห็นการแข่งขันเรื่องราคากันอย่างหนัก โดยในช่วงปีนั้นมีผู้ให้บริการที่แข่งกัน 3 รายใหญ่ ได้แก่ Amazon EC2, HP Cloud และ Windows Azure และทั้งหมดเคลมตัวเองกับลูกค้าและผู้ที่สนใจว่ามีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่สิ่งที่จะพูดถึงในบทความนี้จะบอกถึงว่าการที่มีราคาที่ถูกที่สุดนั้นจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่จะคิดควรเป็นการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพเพื่อนำไปพิจารณาควบคู่กับคุณสมบัติอื่นๆ ที่ผู้ให้บริการมีให้ด้วย เพราะการพิจารณาแค่ด้านใดด้านเดียวในเรื่องของการลงทุนในเรื่องไอทีนั้นคงไม่เหมาะสมนัก

cloud1

มาดูกันว่า Cloud Spectator มีวิธีการทดสอบและผลการทดสอบประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ Cloud ทั้ง 5 เจ้าเป็นอย่างไรบ้างครับ

วิธีการทดสอบ

การทดสอบนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 – 29 พฤษภาคม 2556 โดยทำการทดสอบ 3 ครั้งต่อวัน และจะบันทึกค่าสูงสุดและต่ำสุดที่เกิดขึ้นแต่ละวันไว้เพื่อพล็อตกราฟ สำหรับสเปคที่เราใช้ทดสอบนั้น เราได้ทำการพูดคุยกับผู้ให้บริการหลาย ๆ เจ้าจนพบว่าขนาดของ RAM ที่ใช้โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ 4GB หากผู้ให้บริการเจ้าใดที่ไม่สามารถตั้งได้ถึง 4GB ก็จะใช้จำนวนที่ใกล้เคียงที่สุดในการทดสอบแทน โดยสเปคทั้ง 5 ผู้ให้บริการที่ทดสอบมีตามภาพด้านล่าง

cloud2

ส่วนโปรแกรมในการทดสอบ ทาง Cloud Spector ใช้ Unixbench เวอร์ชันล่าสุดที่สามารถจัดการระบบที่มีหลาย CPU ได้ โดยวัตถุประสงค์ของการทดสอบก็คือการวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบ Unix โดยการใช้คะแนนที่เกิดขึ้นตอนท้ายของการทดสอบเป็นตัววัด ด้วยเหตุนี้เราจึงใช้มันในการวัดประสิทธิภาพการทำงานบนระบบปฏิบัติการ Linux ซึ่งทำงานอยู่บนชั้นบนสุดของโครงสร้างพื้นฐานในระบบ infrastructure เสมือนนี้ โดย Unixbench จะคำนวณคะแนนที่เกิดขึ้นโดยใช้ชุดของการทดสอบที่จะดูว่าเซิร์ฟเวอร์สามารถรอบรับการ Load ของระบบได้มากเท่าไหร่และมีประสิทธิภาพที่รับมือได้อย่างไร ซึ่งจะมีคะแนนเป็นการให้ดาว เต็ม 10

(ใครสนใจ Unixbench เพิ่มเติมก็สามารถลองดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ https://code.google.com/p/byte-unixbench/)

สองสิ่งที่เราเก็บได้จากการทดสอบซึ่งเป็นข้อมูลที่ทางผู้ให้บริการไม่ได้ให้ไว้ มีดังนี้

Performance – การวัดประสิทธิภาพจะใช้ UnixBench ในการทดสอบ โดยจะทดสอบซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ตลอด 5 วัน ซึ่งจะสามารถเก็บข้อมูลบนค่าความแปรปรวนของประสิทธิภาพการทำงาน, สภาพแวดล้อมของ cloud ที่พบโดยทั่วไป ซึ่งปกติจะเป็นที่ที่ถูกแชร์กันใช้งานและไม่สามารถรับประกันประสิทธิภาพการใช้งานว่าจะดีเสมอไป
Price-Performance – หลังจากที่ได้คะแนนของการวัดประสิทธิภาพแล้ว เราก็ต้องมาดูว่าประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเงินที่จ่ายไปอะไรคุ้มค่ากว่ากัน ซึ่งจะใช้ระบบที่เรียกว่า CloudSpecs Score โดยมีคะแนนเต็มที่ 100 คะแนน ซึ่งเราจะเห็นว่าค่าของแต่ละผู้ให้บริการ Cloud ว่ามีใครที่ให้มูลค่ากลับคืนผู้ใช้งานมากที่สุด

ผลการทดสอบในแง่ประสิทธิภาพ

result1

จากผลการทดสอบทั้ง 5 วันบนผู้ให้บริการ Cloud ทั้ง 5 เจ้า เมื่อเรามาดูคะแนนจาก Unixbench กันแล้วก็จะเห็นการแยกกลุ่มคะแนนออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่อยู่ต่ำกว่า 1000 และกลุ่มที่สูงกว่า 1000 คะแนน ผู้ให้บริการที่ทำคะแนนสูงที่สุดตลอด 5 วันคือ Windows Azure ส่วนต่ำที่สุดนั้นกลายเป็นของ Amazon EC2 ไปเสียได้ และหากดูคะแนนเทียบกันแล้วจะพบว่าคะแนนที่ Windows Azure ได้สูงกว่า Amazon EC2 กว่า 3 เท่า

ส่วนค่าที่นำมาคิดเพิ่มเติมด้วยก็คือค่า coefficient of variation (CV) ซึ่งเป็นค่าความแปรปรวนที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยระหว่างการทดสอบ ซึ่งก็พบว่า Amazon EC2 มีค่า CV 4%; Rackspace มีค่า CV 6%; HP Cloud มีค่า CV 1% ส่วน SoftLayer และ Windows Azure มีค่า CV 0% หรือค่าจากการทดสอบคือค่านั้นเลยโดยตรง ไม่มีความแปรปรวน

เทียบผลในแง่ค่าใช้จ่าย

เพื่อให้เทียบกันให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เราเลยมาดูด้านราคาของแต่ละเจ้า คิดเป็นรายชั่วโมง (Pay-Per-Hour) มาคิดรวมกันกับคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้านบน โดยเราจะคิดเฉพาะราคาการให้บริการล้วนๆ ในปัจจุบัน ไม่เอาปัจจัยอื่นๆ อย่างค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมาคิดในส่วนนี้

result2

เมื่อเอาราคาคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งที่แล้วมาหารด้วยราคาต่อชั่วโมงก็จะได้กราฟนี้ขึ้นมา ซึ่งจะเห็นความต่างจากกราฟแรก เพราะค่าใช้จ่ายของผู้ให้บริการนั้นมีความต่างกัน และเมื่อเทียบแล้วจะเห็นว่า Windows Azure ก็ยังอยู่อันดับแรก ส่วนที่ขึ้นมาคือ Amazon EC2 เพราะราคาถูกเท่ากับ Windows Azure แต่ที่ตกลงไปอย่างมากคือ SoftLayer ก็เพราะราคาต่อชั่วโมงแพงที่สุดในกลุ่มนั่นเอง

คะแนนจาก CloudSpecs Score

CloudSpecs Score ถูกนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานของค่าราคาประสิทธิภาพที่บอกไปก่อนหน้า และตลอด 5 วันในช่วงการทดสอบ Windows Azure ได้คะแนนสูงสุดทั้งในแง่ประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับราคา โดยในส่วนของ ประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับราคานั้น มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 12,023, HP cloud 9,559 ,SoftLayer 4378, Amazon EC2 3182 และ Rackspace 2313 โดยเมื่อทำการหาค่าบรรทัดฐานโดยใช้ Windows Azure เป็นตัวยืนที่ 100 คะแนนก็จะได้คะแนนตามในตารางนี้

result4

และเมื่อเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนแล้ว ก็จะได้ตามตารางนี้ ซึ่งจะเห็นว่าคู่แข่งที่น่าสนใจนั้นไม่ใช่ Amazon แต่เป็น HP Cloud ที่ได้คะแนนสูสีกับ Windows Azure

result5

บทสรุป

การพิจารณาเลือก Cloud นั้นเราคงไม่สามารถที่จะเลือกที่ราคาเพียงอย่างเดียว แต่เราต้องคำนึงถึงหลายๆ อย่าง ทั้งในแง่การใช้งาน, ลักษณะการใช้, บริการที่มีให้ของผู้ให้บริการ รวมทั้งทรัพยากรที่เราคิดว่าจะใช้ เพราะนั่นจะมีผลต่อการเลือกใช้งานจริงๆ ของผู้ที่ต้องการ หรือท่านอาจจะปรึกษาบริษัทรับทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ เพื่อขอคำแนะนำจากผู้ใช้เชี่ยวชาญ ผลการทดสอบนี้นำมาให้อ่านนี้ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นในการพิจารณา สิ่งที่ผู้ที่จะใช้บริการ Cloud ก็คือศึกษาคุณสมบัติของแต่ละที่ว่าเป็นอย่างไร ตรงกับความต้องการหรือเปล่า, อ่าน feedback จากกลุ่มผู้ใช้งานทั่วโลกว่าเป็นไปในทิศทางไหน และทดลองใช้งานตามที่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เปิดให้ทดลองใช้ฟรีช่วงแรก ก่อนลงทุนกับมันอย่างเต็มตัวครับ

ที่มา: Cloud Spectator